|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศึกษาผลและเงื่อนไขปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน พื้นที่ศึกษา คือ หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแกนนำในการค้นหารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนได้จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 23 คน และกลุ่มเด็กอายุ 1-3 ปี และครอบครัว จำนวน 41 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสังเกต แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างรูปแบบมี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศการยอมรับของชุมชนและคัดเลือกแกนนำชุมชน 2) การสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานร่วมกัน 3) การระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา สำรวจความต้องการและหาแนวทางร่วมกัน 4) การวางแผนการดำเนินงาน 5) การดำเนินงานตามแผนงาน และ 6) สรุป ประเมินผลรูปแบบ ผลจากกระบวนการส่งผลให้ครอบครัวเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีระดับความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในระดับสูง มีการปฏิบัติในระดับดี และเด็กอายุ 1-3 ปี ร้อยละ 92.68 มีพัฒนาการโดยรวมสมวัย เงื่อนไขและปัจจัยสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนครั้งนี้ คือ ภาวะผู้นำของกลุ่มแกนนำ วิสัยทัศน์ของชุมชน ความสนใจและความร่วมมือของชุมชน และกระบวนการวิจัยที่เน้นการมีส่วนร่วม เงื่อนไขและปัจจัยอุปสรรค คือ ภาระงานของกลุ่มแกนนำ ความขัดแย้งของกลุ่มแกนนำ การจัดสรรงบประมาณ และสถานการณ์ความไม่สงบ
This action research aimed to study the model for the promotion of pre-school child development through the participation of family and community and factors affecting such a promotion as well as their results. The studied area was Mu 5, Ban Bukeh, tambon Munoh, Amphoe Su-ngaigolok, Changwat Narathiwat. There were 2 groups of samples: one of 23 core community leaders selected through specified random sampling and one of 41 families with children between 1- 3 years old. A questionnaire, observations, focus group, and an interview were used in data collecting. Percentage, arithmetic mean, standard deviation, and a content analysis were used in data analysis.
It was found that there were 6 steps in the building model: creating the right atmosphere for the community?s acceptance of the researcher and selecting core community leaders; enabling the community to recognize the significance of promoting pre-school child development and to change its preconceptions to encourage co-operative working; organizing forums to analyze problems; surveying its needs and seeking guidelines together; determining an action plan; carrying out the plan; and evaluating the model. The results of this action research were that the families recognized the significance of their participation in promoting pre-school child development and acted accordingly, they gained a high level of knowledge for such a promotion and put it to good practice, and 92.68 % of the pre-school children had overall development appropriate for their age. The favorable factors for this model were leadership of the core community leaders; the community?s vision, interest, and co-operation; and the research process which emphasized participation. The unfavorable factors were the core leaders? household responsibilities, conflicts among the leaders, budget allocation, and insurgency in the area |