ชื่อเรื่อง/Title การสร้างเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน : กรณีศึกษาตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี / Network Building to Protect and Control Dengue Hemorrhagic Fever in Community:A Case Study of Tambon Bangkro, Amphoe Khokpho, Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2)เพื่อศึกษาผลของเครือข่าย 3)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการสร้างเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแกนนำในการสร้างเครือข่าย จำนวน 42 คน และกลุ่มแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การจัดเวทีประชุม การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย มีดังนี้ 1)การสร้างเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนมี 5 ขั้นตอน คือ 1.การสร้างบรรยากาศการยอมรับของชุมชน 2.การสร้างความตระหนักถึงปัญหาโรค 3.การสร้างเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 4.การดำเนินงานของเครือข่าย และ5.การประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่าย
2)ผลของเครือข่ายที่มีต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน พบว่า การดำเนินงานเกิดขึ้นจากความร่วมมือของชุมชน ทั้งแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย ความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง เกิดการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และโดยภาพรวมในส่วนของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีการปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้างเป็นบางครั้งไม่สม่ำเสมอ 3)ปัญหาอุปสรรคในการสร้างเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน คือ การขาดจิตสาธารณะของแกนนำเครือข่าย ภาระงานของแกนนำเครือข่ายที่มีมากเกินไป และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่

The three purposes of this research 1) to build a network protect and
control Dengue Hemorrhagic Fever in community, 2) to study the results of such network
to protect and control Dengue Hemorrhagic Fever in community and 3) to study the
problem in network building, protect and control Dengue Hemorrhagic Fever in community.
There were 2 target groups. The first group composed of 42 key persons chosen through
purposive sampling from community leaders, subdistrict administrative organization
members and the Village Health Volunteers. The other group composed of 234 chosen
through convenience sampling from representatives of family health leaders in community.
Forums and focus group techniques were used for this network building. Participatory
observation, interview and questionnaire for satisfaction were used for data collection.
Percentage, arithmetic means, standard deviation, and descriptive analysis were used for
data analysis.
Findings were as follows: 1) There were 5 stages in network building,
protect and control Dengue Hemorrhagic Fever in community : (1) creating ambience for
community acceptance, (2) building awareness of Dengue Hemorrhagic Fever, (3)
building a network, (4) action of the network and (5) assessment. 2) The results of such
network, protect and control Dengue Hemorrhagic Fever in community, it was found the
participation, data exchange, protect and control Dengue Hemorrhagic Fever become lower
to the risk of Dengue Hemorrhagic Fever. 3) The problem in network building protect and
control Dengue Hemorrhagic Fever in community, it was found the obstacles were lack
public mind, the network leaders? workload and violence situation in the area.
     ผู้ทำ/Author
Nameสกุลวิชย์ พูนนวล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: มารุต ดำชะอม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5789
     Counter Mobile: 35