ชื่อเรื่อง/Title การยอมรับในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ / Concession to the Integration of Thai Traditional Medicine in the Government PublicHealth Service of Medical and Public Health Administratorsin the Three Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านประโยชน์ของการแพทย์แผนไทย และประสิทธิภาพของการแพทย์แผนไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะและปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับ ในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และหัวหน้าสถานีอนามัย จำนวน 245 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารและปัจจัยเสริม และทำการสัมภาษณ์แบบปลายเปิดกับผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 19 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขส่วนใหญ่มีอายุ
ระหว่าง 41-50 ปี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยมากที่สุด นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 21 -30 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย และปัจจัยเสริมเห็นว่านโยบายการผสมผสานด้านการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขไม่ชัดเจน และงบประมาณของหน่วยงานไม่เพียงพอในการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทย และจากการศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะและปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข พบว่า ศาสนาที่ผู้บริหารนับถือมีความสัมพันธ์กับการยอมรับโดยรวมในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตำแหน่งของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการยอมรับในด้านประโยชน์ของการแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ ประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์การใช้บริการ การเข้ารับการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมความชัดเจนของนโยบาย และความเพียงพอของงบประมาณ ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับโดยรวมในการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข และไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในด้านประโยชน์และด้านประสิทธิภาพของการแพทย์แผนไทย
2. ผู้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขมีการยอมรับโดยรวมต่อการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก มีการยอมรับในด้านประโยชน์
ของการแพทย์แผนไทย ในระดับมาก เกี่ยวกับ ช่วยลดอันตรายจากการใช้ยาชุดยาแก้ปวดอย่างไม่เหมาะสมของประชาชน ลดการจ่ายยาโดยไม่จำเป็น ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการรักษามากขึ้นและส่งเสริมการพึ่งตนเองของประชาชน และมีการยอมรับในด้านประสิทธิภาพของการแพทย์แผนไทยในระดับมาก ทั้งในเรื่องของยาสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคตามสรรพคุณการนวดไทยช่วยกระตุ้นความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น การประคบสมุนไพรช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น และการอบไอน้ำสมุนไพรช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ยอมรับว่าการแพทย์แผนไทยมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนได้

This research had two purposes: 1) to study the concession to the integration of Thai traditional medicine in the government public health service of medical and public health administrators in the three Southern border provinces and the efficiency of Thai traditional medicine; 2) to study these administrators characteristics and additional factors which were related to the concession.The samples were 245 medical and public health administrators in the three Southern border provinces who were Chief Public Health Doctors of Provinces, Hospital Directors, Chief Public Health Officers of Districts, and Chiefs of Health Centres. Questionnaires were used in collecting data about the administrators characteristics and additional factors while open-ended interviews were used with 19 medical and public health administrators. Frequency, percentage,standard deviation, and Chi-square were used in data analysis.
The findings were as follow:
1. Concerning the administrators characteristics, it was found that most of them were between 41-50 years and were Muslims. The majority of them worked as Chiefs of Health Centres, with 21-30 years of experience. Most never attended meetings, seminars, or trainings in Thai traditional medicine. The additional factors indicated that the policies in integrating Thai traditional medicine in public health service system were not clear and the offices did not have enough budgets to operate Thai traditional medicine. It was found that religions were related to the overall concession at the significant level of 0.5 and the administrators positions were related to the concession to the usefulness of Thai traditional medicine at the significant level of 0.5. However, age, work experience, experience of services, participation in meetings, seminars, or trainings, the clarity of policies, and the sufficiency of budgets had no relation to the overall concession and the concession to the usefulness and the efficiency of Thai traditional medicine.
2. The overall concession to the integration of Thai traditional medicine of the medical and public health administrators was at the high level. Their concession to its usefulness was at the high level, due to its benefits in reducing people?s risks from taking packaged painkillers improperly, reducing unnecessary rescriptions, offering people more alternatives, and promoting self-reliance. The administrators concession to the medicine's efficiency was at the high level, due to its efficiency in various aspects: Thai herbs can treat illnesses in accordance with their potential, a Thai massage stimulates the strength of muscles and blood circulation, the use of herbal heat-packs improves blood circulation, and the use of herbal sauna helps stimulate blood circulation to improve the heart and vein systems. These administrators admitted that Thai traditional medicine is efficient in preventing and treating illnesses as well as in rehabilitating and promoting good health.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุชล แว่นแก้ว
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: ประชา ฤาชุตกุล
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5622
     Counter Mobile: 31