ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาจรรยาบรรณของข้าราชการครูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ / A Teachers Code of Ethics Study of Teachers in the Three SouthernBorder Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของจรรยาบรรณของครูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และศึกษาความแตกต่างของจรรยาบรรณตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับสถานศึกษา ตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี HSD ของทูกีย์
ผลการวิจัยพบองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ คือ ความสัมพันธ์กับชุมชน การอุทิศตนให้แก่ศิษย์ การรักษาความลับและไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพครู การส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่น การสนับสนุนเพื่อให้ศิษย์พัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเอง การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และการศรัทธาในวิชาชีพครู จรรยาบรรณของข้าราชการครูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้โดยรวมอยู่ในระดับดี ครูเพศหญิงมีจรรยาบรรณมากกว่าครูเพศชายในองค์ประกอบการอุทิศตนให้แก่ศิษย์และองค์ประกอบการสนับสนุนเพื่อให้ศิษย์พัฒนาตนเอง ครูที่มีตำแหน่งสายบริหารมีจรรยาบรรณครูสูงกว่าครูที่มีตำแหน่งสายผู้สอนในองค์ประกอบความสัมพันธ์กับชุมชนและการศรัทธาในวิชาชีพครูและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครูที่มีอายุ ระดับสถานศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีจรรยาบรรณครูไม่แตกต่างกัน

This research aimed to extract factors of code of ethics of teachers in the three Southern Border provinces and to compare their ethics based on sex, age, position and teaching experience,as well as school level. The samples consisted of 600 teachers under the Educational Service Areas in Yala, Pattani, and Narathiwas, drawn through proportional stratified random sampling according to provinces, school sizes, and school educational levels. The instrument was a rating scale questionnaire covering 14 codes of ethics. Factor analysis, arithmetic mean, standard deviation, analysis of variance, and TurkeyTs HSD method were used in data analysis. The factor analysis revealed ten factors including the relationship with communities,dedication to their students, trustworthiness, honesty to profession, promotion and conservation of local culture, supporting studentsT self-improvement, self-improvement, self-conduct as role models for students, self-sufficiency, and faith in teaching profession.
The overall code of ethics of the teachers was at the high level. Female teachers dedication to students and support for studentsT self improvement were higher than male teachers at the .01 and .05 level of significance, respectively. The code of ethics of the administrators
regarding relationship with communities and faith in teaching profession were higher than those of the teachers at the .05 level of significance, and regarding self-conduct as role models at the .01 level. Teachers of different age, experience, and school level demonstrated no difference in code of ethics. The research findings showed that teachersT age and experience as well as school level were not factors to differentiate their code of ethics while sex and position were.
     ผู้ทำ/Author
Nameนุชรินทร์ สุวรรณชาตรี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5465
     Counter Mobile: 32