|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | Bullying Among Lower Secondary School Students in Pattani Province / พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปัตตานี | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดปัตตานี รวมทั้งสร้างสมการเพื่อทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมรังแก ด้วยการศึกษาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของจังหวัดปัตตานี จำนวน 244 คน อายุระหว่าง 12-19 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในเดือนธันวาคม 2549 จาก กลุ่มตัวอย่างนอกบริเวณโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ข้อคำถามอ้างถึงพฤติกรรมการรังแกย้อนหลัง 6 เดือนที่ผ่านมาและ 1 เดือนก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปร ตามด้วยไคสแควร์ สร้างสมการด้วยการถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความชุกของพฤติกรรมการรังแกร้อยละ 18.5 (95% CI: 13.6-23.4) โดยพบว่าเพศไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรังแก กล่าวคือนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการรังแกไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรังแกคือ อายุ เชื้อชาติ พื้นที่ตั้งของโรงเรียน และการทะเลาะวิวาทกันของบิดา มารดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการที่พ่อ แม่ ใช้ความรุนแรงต่อกันจะส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมไปรังแกผู้อื่น อย่างไรก็ตามปัญหา เรื่องพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนจะลดลงถ้าบิดา มารดาไม่ทะเลาะวิวาทกัน This study aimed to investigate the prevalence of physical bullying and to identify a suitable statistical model accounting for risk factors affecting physical bullying among lower secondary school students in Pattani province, southern Thailand. A crosssectional survey was conducted among 244 students aged 12 to 19 years by questionnaire. All participants were interviewed in December 2006 in a neutral location outside the schools. Questions on physical bullying referred to behaviour during both the preceding six months and during the previous month. Pearson?s chisquared test was used to assess the associations between the outcome and various determinants. Logistic regression was used to identify risk factors for physical bullying. The overall prevalence of physical bullying was found to be 18.5% (95% CI: 13.6-23.4). Gender was not significantly associated with bullying others. The outcome was associated to a statistically significant degree with age group, ethnicity, school type and parental violence. Specifically, the results from this study indicated that students who had experience of parental violence were more likely to be bullies at school. This study also provides some directions for attempting to reduce the problems of bullying. It might be useful if teachers and other authorities assist parents to reduce their own level of family violence as a way of helping their children. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content | ||||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --สตรีเด็กและเยาวชน |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2550 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 3813 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 34 | |||||||||||||||||||||