ชื่อเรื่อง/Title รูปแบบการศึกษากฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Learning Style of Islamic Law of Muslims in the Southern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการศึกษาวิชาฟิกฮฺหรือวิชากฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศึกษา 3 ด้านได้แก่ การเรียนการสอน วิชากฎหมายอิสลาม แหล่งที่มาของกฎหมายอิสลาม การวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม 2)ศึกษาทัศนะของผู้รู้และผู้ศึกษา เกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาฟิกฮฺของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /> กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ผู้รู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ผู้รู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์อิสลาม ผู้รู้ที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่มีนักเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ผู้รู้ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันปอเนาะที่มีนักเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ผู้ศึกษาที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและปอเนาะที่มีนักเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ผู้ศึกษาที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันอุดมศึกษาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /> เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Content Analysis ใช้การหาคำและประโยคหลัก นำมาวิเคราะห์จัดเข้าหมวดหมู่ หาค่าความถี่ของคำหลักและประโยคหลัก และสรุปเป็นคำบรรยาย<br /> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> 1. ความคิดเห็นของผู้รู้เกี่ยวกับรูปแบบการศึกษากฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านการเรียนการสอนกฎหมายอิสลาม ด้านแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามด้านการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามปรากฎผลดังนี้<br /> ด้านการเรียนการสอน พบว่า ผู้รู้ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า มัซฮับที่ผู้รู้ส่วนใหญ่ศึกษาวิชากฎหมายอิสลามคือ มัซฮับชาฟิอีย์ โดยศึกษาตัฟซีรอัลกุรอานจากตำราตัฟซีรญะลาลัยนฺ ส่วนตำรากฎหมายอิสลามที่ผู้รู้ส่วนใหญ่ได้ศึกษาคือ ตำราอิอานะตุฎฎอลิบีน และตำราที่ผู้รู้ส่วนใหญ่ใช้ประกอบการเรียนการสอนคือ ตำราอิอานะตุฎฎอลิบีน ซึ่งตำราดังกล่างเป็นตำราที่เขียนตามแนวมัซฮับชาฟิอีย์<br /> ด้านแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามพบว่า ผู้รู้มีความคิดเห็นว่าการศึกษาวิชาฟิกฮฺและวิชาที่เกี่ยวข้องกับฟิกฮฺของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เน้นการให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาหรือหลักฐานของกฎหมายอิสลาม โดยผู้รู้ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นดังนี้<br /> 1. เมื่อผู้รู้พบว่ามีทัศนะที่แตกต่างไปจากอัลกุรอานและอัลสุนนะฮฺ ผู้รู้จะปฎิบัติตามทัศนะที่ปรากฎในตำรากฎหมายอิสลาม<br /> 2. เมื่อปรากฎปัญหาข้อกฎหมายอิสลาม มุสลิมในพื้นที่ของผู้รู้ส่วนใหญ่จะถามเพื่อต้องการคำตอบ โดยไม่สนใจหลักฐาน<br /> 3. ผู้รู้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาในเรื่องแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลาม<br /> 4. ผู้รู้ส่วนใหญ่เคยใช้แหล่งที่มาอื่นนอกจากอัลกุรอานและอัลสุนนะฮฺ<br /> 5. ผู้รู้ส่วนใหญ่ คิดว่าผู้เรียนทั่วไปรู้จักแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามในระดับน้อยมาก<br /> ด้านการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามพบว่า ผู้รู้ส่วนใหญ่มิได้วินิจฉัยโดยอาศัยตำรากฎหมายอิสลามของมัซฮับที่ตนยึดมั่น เพราะผู้รู้ส่วนใหญ่ใช้ตัฟสีรอัลกุรอานและตำราหะดีษมาประกอบการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามเป็นหลัก<br /> 2. ความคิดเห็นของผู้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษากฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการเรียนการสอนกฎหมายอิสลาม ด้านแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลาม และด้านการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม ปรากฎผลดังนี้<br /> ด้านการเรียนการสอนพบว่า ผู้ศึกษาส่วนใหญ่เน้นการศึกษาจากตำราที่เขียนตามแนวนัซฮับที่ตนยึดมั่น นั่นคือ มัซฮับซาฟิอีย์ โดยศึกษาวิชาตัฟซีรอัลกุรอานจากตำราตัฟซีรญะลาลัยนฺ ศึกษาสุนันและชัรหฺเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามจากตำราเศาะหีหฺมุสลิมของอิหม่ามนะวาวีย์ ส่วนตำรากฎหมายอิสลามที่ผู้ศึกษาส่วนใหญ่ได้ศึกษาคือ ตำราอิอานะตุฎฎอลิบีน และตำราที่ผู้ศึกษาส่วนใหญ่ใช้เป็นตำราในการเรียนในสาขาวิชากฎหมายอิสลาม คือ ตำราเราเฎาะตุฎฎอลิบีนของอิหม่ามนะวาวีย์<br /> ด้านแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามพบว่า ผู้ศึกษาส่วนใหญ่ประสบปัญหารในการรับรู้แหล่งที่มาของกฎหมายอิสลาม แหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามที่ผู้ศึกษาส่วนใหญ่รู้จัก คือ อัลกุรอ่านและอัลสุนนะฮฺ เมื่อปรากฎว่ามีปัญหาข้อกฎหมายอิสลาม นักศึกษาในสถาบันของผู้ศึกษาส่วนใหญ่จะถามพร้อมกับต้องการรู้ถึงหลักฐานและที่มาของคำตอบ และผู้ศึกษาส่วนหนึ่งเคยศึกษาแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามอื่นนอกจากอัลกุรอานและอัลสุนนะฮฺ<br /> ด้านการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามพบว่า ผู้ศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยตำรากฎหมายอิสลามที่เขียนตามแนวนัซฮับที่ตนยึดมั่น กล่าวคือ เมื่อปรากฎว่ามีเหตุการณ์ใดๆที่มิได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในอัลกุรอานและอัลสุนนะฮฺ ผู้ศึกษาส่วนใหญ่ จะขอคำวินิจฉัยจากบรรดาผู้รู้ที่ตนศรัทธา และผู้ศึกษาส่วนใหญ่คิดว่า ตำรากฎหมายอิสลามที่บรรดาผู้รู้นำมาประกอบวินิจฉัยข้อกฎหมายนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนมีความพอใจกับตำราและผู้รู้ที่ตนศรัทธา

     ผู้ทำ/Author
Nameบูดีมัน แยนา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้แต่ง
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านกฎหมาย
--กฎหมายอิสลาม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิสมาแอ อาลี
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4820
     Counter Mobile: 40