ชื่อเรื่อง/Title แนวโน้มการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ.2548-2558 / Administrative Trends of the Islamic Private School in Three Southern Border Provinces from B.E.2548-2558
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างพ.ศ.2548-2558 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 รอบและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ผลต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1. วิสัยทัศน์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ พร้อมให้ความสำคัญกับภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่คุณธรรม ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและจัดการศึกษาที่หลากหลาย<br /> 2. เป้าหมายการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพ พร้อมกับส่งเสริมสมานฉันท์ "เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา" และสำนึกในความเป็นประชารัฐที่มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ<br /> 3. ภารกิจการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ คือ 1)บริหารงานวิชาการอย่างเป็นระบบ โดยจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรรมในทุกกลุ่มสาระอย่างมีเอกลักษณ์ เร่งพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม 2) บริหารงานบุคคลที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัย พร้อมกับดำเนินการทางวินัยอย่างเคร่งครัดโดยอิสระของโรงเรียนภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐ มีครูเพียงพอ และผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ<br /> 3) บริหารงานการเงินด้วยแผนพัฒนาคุณภาพเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินครอบคลุมครูสอนวิชาศาสนาและครูสอนวิชาสามัญ พร้อมกับระบบการตรวจสอบที่รัดกุมจากรัฐ ต้องให้ครู้ได้รับเงินเดือนตรงตามวุฒิ และสิทธิอื่นๆตามกฎหมาย และ 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป จัดบริการสาธารณูปโภค เช่น บริการน้ำดื่มที่สะอาด ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกสุขอนามัย บริการอาหารกลางวัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเหมาะสม และมีแผนปฎิบัติการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพ<br /> 4. โครงสร้างการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต ควรปรับปรุงระดับเขตพื้นที่การศึกษาโดยมีกลุ่มงานหลัด คือ กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนสามัญ กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และกลุ่มงานบริหารทั่วไป พร้อมกับปรับโครงสร้างการบริหารงานการศึกษาเอกชนทั้งระบบอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม โดยส่วนกลางให้จัดตั้งศูนย์บริหารการศึกษาอิสลาม ที่มีสำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลาม ศึกษานิเทศก์ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อยู่ในโครงสร้างการบริหาร หรือมีองค์กาหลักที่ดูแลการศึกษาเอกชนทั้งระบบคือ กองสามัญศึกษา และกองอิสลามศึกษา ที่ดูแลควบคุมศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันศึกษาปอเนาะ สำหรับส่วนภูมิภาคมีสำนักตรวจราชการที่มี ส.ช. ประจำเขตตรวจราชการ ควบคู่ศูนย์ประสานงานการบริหารการศึกษาเอกชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเขตพื้นที่การศึกษาที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีกระจายอำนาจการบริหาร พร้อมกับให้บทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือมีองค์กรกลางทำหน้าที่บริหารงานวิชาการ งบประมาณบุคลากร และงานบริหารทั่วไป โดยให้โรงเรียนมีหน้าที่ในด้านการจัดการเรียนการสอน

The purpose of this research is to examine and collect perspectives of experts towards administrative trends in the Islamic private schools affiliated to charter 15(1) of high school in three southern border provinces from B.E. 2548 to B.E. 2558 based on Delphi technique. The samples consisted of 20 panelists. The data was collected using three rounds questionnaires technique. The collected data was analyzed using median, mode, the difference between mode and median and interquartile range procedures. The findings are as follows:<br /> 1. In the area of vision of the Islamic private school administration, the priority should be given to the national language i.e. Thai whereas Arabic, Malay and English language should be considered foreign. The emphasis should also be given to varied educational provisions and academic-ethic excellence in accord with quality standards of the Office of National Education<br /> Standards and Quality Assessment (ONESQA).<br /> 2. In the area of goals of the Islamic private school administration, the educationalprovisions operated to enhance students abilities, the notion of reconciliation to approach, to understand, and to develop ? and the instilling of the state citizenry consciousness having loyalty to the nation should be promoted.<br /> 3. The missions of the Islamic private school administration are as follows:<br /> 1) There should be a systematic academic administration, a teaching of morality and religious ethic across all subject contents, and the development of curriculum<br /> responding to the needs of students, community, and Muslim?s ways of life through participative process. 2) There should be a personnel development program to enhance their understanding on the student-centered approach; the freedom of exercising the school discipline in line with ministry regulations; sufficient numbers of teachers serving in schools; and effective administrators with<br /> genuine leadership and ability in management and administration. 3) There should be strategic budgeting plans for school development; the adequate financial support from government to be utilized for both religious and academic program and closed assessment on it; and the assurance that teachers receives their should-to-be salaries and other lawful rights. 4) There should be well<br /> provided infrastructure such as clean drinking water station, hygienic toilets and canteens to enhance the life quality of the learners. There should also be annual operation plans in line with quality development plan.<br /> 4. In the area of the administrative structure of the Islamic private schools, the structure of the Educational Service Area Office (ESAO) should be divided into three main bureaus i.e. promoting bureau for academic private education, promoting bureau for Islamic private education, and general administrative bureau. The administrative structure of Islamic private education should be systematically amended through participative process. At central level, there should be the Centre of Islamic Education Administration under which stand Office of<br /> Chularatchamontri, Office of Islamic Committee, Office of Supervision, and Office of the Private Education Commission (OPEC). On the other hand, there should be an exclusive body responsible for private education namely Academic and Islamic Education Department which will be<br /> supervising and catering for Mosque-based Islamic Education Centre (TADIKA), Islamic private schools, and Pondoks institutions. At regional lever, there should be Office of Inspection with affiliated OPEC in parallel with Coordinating Centre for Private Education Administration in Three Southern Provinces. At educational service areas level, there should be Private Education Promotion Commission or other bureaus, under supervision of Office of the Permanent Secretary (OPS), responsible for Islamic private schools, Pondoks institutions, and TADIKA. There should also be an administrative decentralization, empowerment of local governances, and nongovernment<br /> based organizations responsible for academic administration, budgeting, personnel administration, and general administrative affairs of schools. The schools should only be responsible for learning and teaching.
     ผู้ทำ/Author
Nameสะการียา แวโซะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: สุวิทย์ บุญช่วย
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4903
     Counter Mobile: 41