ชื่อเรื่อง/Title การวิจัยเพื่อสรุปบทเรียน: กระบวนการเตรียมกลุ่มวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี / A Lesson Learned Research: A Case Study of Pattani Community Radio Formation Process
     บทคัดย่อ/Abstract
วิทยุชุมชนเป็นสื่อใหม่ของสังคมไทย ที่เกิดขึ้นจากมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ด้วยเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ที่ต้องการให้สื่อวิทยุก่อประโยชน์สูงสุดแก่ชาติและท้องถิ่นในฐานะทีเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ แนวคิดเรื่องการกระจายโอกาสการใช้ความถี่ในลักษณะกิจการสาธารณะที่ภาคประชาชนสามารถครอบครองคลื่นความถี่และเป็นเจ้าของสถานีวิทยุเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสร้างประโยชน์แก่สาธารณะจึงเกิดขึ้น ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวนี้ภาคประชาชนได้พยายามที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจในความสำคัญของคลื่นความถี่เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าบริหารจัดการความถี่วิทยุที่อาจจะได้รับ
งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาบทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการเตรียมกลุ่มวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี และกลยุทธ์การสร้างความเป็นวิทยุชุมชนให้แก่กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษากลุ่มตัวอย่างในจังหวัดปัตตานี
จากการศึกษาพบว่า การสร้างกลุ่มเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเรียนรู้สื่อวิทยุชุมชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ภาคประชาชนมีความพร้อมในการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่และสถานีวิทยุ ขณะเดียวกันธรรมชาติของสื่อวิทยุที่มีการดำเนินการในลักษณะสาธารณะ ทำให้การค้นหากลยุทธ์ในการสร้างความเป็นวิทยุชุมชนแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความจำเป็น เพื่อให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อที่ก่อประโยชน์แก่คนทุกฝ่ายในสังคม
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสร้างกลุ่มมีทั้งสิ้น 3 ระยะ คือ ระยะการสร้างกลุ่ม ระยะการเตรียมความพร้อม และระยะการขยายโหนด โดยพบว่าทั้ง 3 ระยะแห่งการเติบโตต้องอาศัยกิจกรรมเป็นเครื่องประคองไม่ให้กลุ่มล้มหายไป ขณะที่การทำงานที่ยากที่สุดคือ ระยะการขยายโหนดเพื่อสร้างเครือข่ายให้กว้างขึ้น ซึ่งพบว่าภาคประชาชนมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ
สำหรับการค้นหากลยุทธ์ในการสร้างความเป็นวิทยุชุมชนให้เกิดแก่ประชาชนนั้น ผู้วิจัยเลือกใช้กลยุทธ์ทั้งสิ้น 6 ประการ และพบว่ากลยุทธ์ที่มีลักษระการบอกกล่าวโดยตรงในลักษณะการสื่อสารทางเดียว ไม่ใช่วิธีการที่ได้ผลดีนัก กิจกรรมต่างๆจึงต้องมุ่งเน้นกระบวนการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารสองทางที่ประชาชนสามารถร่วมแลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็นได้

Community radio is a new media tool in Thai society, introduced by Code number 40 of the Thai Constitution. By its determination to encourage the role of radio in providing healthy advantages to the nation and locals as a national broadcasting resource, the concept of dispersing radio frequency to civic groups has taken place. This has enabled civic groups to have access to a radio frequency and to found a radio station for public benefits as well. In this action atmosphere, civic groups are learning and understanding about the essence of community radio and becoming ready to administer the radio frequency. The aims of research are to search for a lessons learned about the group building process of Pattani community radio and to develop strategies to orient people to understand the concept of community radio in Pattani. It is a participatory action research.
The study found that group building is an essential part of the community radio learning process and activities movement as well, which leads to civic readiness for radio frequency and radio station ownership. Since the nation of the radio is a public activity, strategies are needed to make people understand what community radio is. Thai will confirm that community radio will contribute advantages to serve all stake holders in Thai society.
The findings show that the group building process is composed of 3 stages: group building, group preparation, and networking. all stages need activities to ensure the formation and group survival. However, the most difficult stage is a networking stage because civic groups have problem with administration
The study used 6 strategies in orienting people to understand community radio. However, activities used in one-way communication only is ineffective. The findings show that all activities should contain the concept of participatory communication where people can share and exchange their idea. Two-way communication is recommended.
     ผู้ทำ/Author
Nameชาลิสา มากแผ่นทอง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ลักษณะพื้นที่
บทที่ 5 ความเป็นมากลุ่มวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี
บทที่ 6 กระบวนการเตรียมกลุ่มวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี
บทที่ 7 กลยุทธ์การสร้างความเป็นวิทยุชุมชน (หน้า 199-258)
บทที่ 7 กลยุทธ์การสร้างความเป็นวิทยุชุมชน (หน้า 259-308)
บทที่ 8 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2860
     Counter Mobile: 41