ชื่อเรื่อง/Title ทัศนคติของประชาชนต่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / The Attitudes of the People toward Unpeace in the Three Southern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อสาเหตุและสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กลุ่มจำนน 18 กลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักตรรกเทียบเคียงแนวความคิดทฤษฎีและงานวิจัยควบคู่บริบท และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล จำนวน 1640 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าความไม่สงบมีสาเหตุจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม ความหวาดระแวง ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ความขัดแย้งทางการเมือง การได้รับยอมรับและยกย่องเชิดชู มาจากผู้ที่ขัดแย้งส่วนตัว และเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อสาเหตุของความไม่สงบที่ไม่แตกต่างกัน
3. ประชาชนมีทัศนคติต่อโรงเรียนถูกเผาและครูถูกฆ่าตายเพราะทำลายล้างประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ และทุกตัวแปรมีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
4. ประชาชนมีทัศนคติต่อโจรก่อการร้ายจะเรียกค่าคุ้มครองเฉพาะคนรวยต่างศาสนิกอยู่ในระดับไม่แน่ใจ และส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
5. ประชาชนมีทัศนคติต่อการวางระเบิดสะพาน ทางรถไฟ และสถานที่ราชการ เพราะโต้ตอบรัฐที่ไม่ให้ความเป็นธรรมและดูถูกกดขี่ข่มเหงชาวไทยมุสลิมอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
6. ประชาชนมีทัศนคติต่อประชาชนไม่สามรถทำงานวันศุกร์ได้เพราะจะถูกตัดหูอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
7. ประชาชนมีทัศนคติต่อประชาชนต้องอพยพหนีออกนอกพื้นที่เพราะความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
8. ประชาชนมีทัศนคติต่อโรงเรียนต้องปิดบ่อยทำให้นักเรียนเรียนไม่เต็มที่เวลาเรียนไม่พออยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศคติที่ไม่แตกต่างกัน
9. ประชาชนมีทัศคติต่อประชาชนไม่สามารถตัดยางตอนดึกได้เพราะไม่ปลอดภัยอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศคติที่ไม่แตกต่างกัน
10. ประชาชนมีทัศนคติต่อผู้ที่ให้ค่าคุ้มครองแก่โจรก่อการร้ายเพราะสามารถให้ความปลอดภัยมากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศคติที่ไม่แตกต่างกัน
11. ประชาชนมีทัศนคติต่อทหารตำรวจถูกฆ่าตายเพราะเป็นผู้ดูถูกข่มเหงรังแกชาวไทยมุสลิมอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศคติที่ไม่แตกต่างกัน
12. ประชาชนมีทัศนคติต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าเพราะต้องการกดดันและท้าทายอำนาจรัฐอยู่ในระดับเห็นด้วย และส่วนใหญ่มีทัศคติที่ไม่แตกต่างกัน
13. ประชาชนมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบดังนี้
1) รัฐต้องจัดการกับข้าราชการที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมและมีอคติกับประชาชน
2) รัฐต้องเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่เข้ามาเป็นข้าราชการให้มากที่สุด
3) รัฐไม่ควรส่งข้าราชการที่ทำผิดวินัยจากที่อื่นมาทำงาน
4) รัฐไม่ควรใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
5) รัฐต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานในพื้นที่เหมือนกับ ศอบต.
6) รัฐต้องให้ทุนแก่เยาวชนได้ศึกษาหลากหลายสาขาวิชา
7) รัฐต้องนำหลักการอิสลามเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา
8) รัฐต้องมีแนวความคิดที่ดีต่อสถาบันการศึกษาปอเนาะและโต๊ะครู
9) รัฐต้องปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ให้จริงจังและให้สิ้นซาก
10) รัฐควรให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ

     ผู้ทำ/Author
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameเกษตรชัย และหีม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameอับดุลเลาะ อับรู
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 9-40)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 41-65)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 66-85)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 93-121)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 122-160)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 161-200)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 201-244)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 245-282)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2549
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 10383
     Counter Mobile: 34