|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
รูปแบบการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี / The dietary pattern intake during pregnancy in Thai Moslem pregnant women in Pattani Province, Thailand |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม และความสัมพันธ์ของข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ปริมาณสารอาหารที่ได้รับกับสภาวะเหล็กในร่างกาย โดยวิธีการศึกษาแบบ Cross-sectional study ทำการศึกษาในหมู่บ้านไทยมุสลิมจำนวน 4 ตำบล ในจังหวัดปัตตานีทำการศึกษากับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จำนวน 95 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การซักประวัติการบริโภคอาหารในรอบ 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 วันทำการเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง<br />
ผลการวิจัย พบว่า<br />
ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์บริโภคอาหารมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น มากกว่าร้อยละ 93 บริโภคอาหารว่างเช้า บ่าย เย็น มากกว่าร้อยละ 30 และบริโภคอาหารก่อนนอน ร้อยละ 22 <br />
การบริโภคน้ำหนักอาหาร หมู่ที่ 1เนื้อสัตว์ หมู่ที่ 2ข้าว แป้ง ก๋วยเตี๊ยว หมู่ที่ 3ผักต่างๆ ในครั้งที่ 2บริโภคมากกว่า ครั้งที่ 1 ส่วนการบริโภคผลไม้ ครั้งที่ 2 น้อยกว่าครั้งที่ 1 <br />
ปริมาณสารอาหารที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับในครั้งที่ 1 และ 2 มีความแตกต่างกันในด้านการบริโภคคาร์โบไฮเดรทและวิตามินบีหนึ่ง พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารเกือบทุกชนิดต่ำกว่าค่า RDA ของคนไทย ยกเว้นสังกะสีโดยหญิงตั้งครรภ์บริโภคสังกะสีมากกว่าค่า RDA ของคนไทย และพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างค่า Hb กับระดับของ Bioavailability meal สภาวะฮีมาโตคริตและซีรั่มเฟอริตินกับธาตุเหล็กจากอาหาร <br />
ความสัมพันธ์ของปริมาณเหล็กที่ได้รับกับระดับ Haemoglobin และข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลจะใช้เป็นแนวทางในการสร้ากลยุทธ์ในการลดปัญหาโรคโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี
The objectives of this study are atudy food consumption pattern of Thai-Muslim(T-M) pregnant women(PW).And study the correlation of nutrients(Fe) intake to iron status of PW. Method: Cross-sectional methad is used. 95 T-M PW (20-28 week of gestation) in 4 Tarmbons in pattani province are studied.24 hour dietary recall and food freguency guestionnaire were used to colled food consumption data. Results:>93% of PW consumed breakfast, lunch and dinner.>30% of PW consumed moning, afternoon and late afternoon break. 22% consumed break before go to bed.In the 2nd time collection data, PW consumed weight of food in food group 1 (meat), food group 2 (rice, flour) and food group 3 (vegetadles) more than the first time collection data. There wes difference in consumption of carbohtdrate and vitamin B1(P<.05). PW consumed all nutrients lower than Thai RDA. There were statistical significance difference correlation between hemoglobin (Hb) level and bioavailability meal.(P<.05), hematocrit(HCT) and serum farritin (SF) to iron consumption (P<.05). The correlation of amount of iron consumption, Hb level and back ground information are used to set the strategy in decreasing iron deficiency anemia in PW in Pattani province. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สุมาลิกา เปี่ยมมงคล | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
อิสลามศึกษา
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2546 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
3567 |
|
Counter Mobile: |
40 |
|