ชื่อเรื่อง/Title การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส / The Creative Effects the Mural Paintings at Pippaliwan Temple Salamal Subsistrict Takbai District Naratiwat Province
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยประเภทการพัฒนาโดยการทดลองในสาขาปรัชญา กลุ่มวิชาศิลปกรรม เป็นการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพุทธประวัติภายในพระอุโบสถวันปิบผลิวัน ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส<br /> <dd>จากการศึกษาสร้างสรรค์และวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถดังกล่าว พบว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างสรรค์ขึ้น มีรูปลักษณ์ที่ได้รับการออกแบบใหม่ แตกต่างไปจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในอดีต ภาพจิตกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นมีการทดลองเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการนำเสนอ จากการใช้ภาพคน ระบบายด้วยสีฝุ่นและตัดเส้นแบบ 2 มิติตามแบบประเพณีนิยม มาเป็นรูปลักษณ์ใหม่โดยใช้รูปสัญลักษณ์ของต้นไม้สำคัญๆในพุทธประวัติมาเป็นสื่อในการแสดงออก ที่ยังคงความหมายถึงเรื่องพุทธประวัติ ตลอดจนการใช้วัสดุ เทคนิคและกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งแตกต่างไปจากภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ทั้งด้านเทคนิค การแสดงออก และรูปแบบในงานจิตรกรรม รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบของภาพ และความแตกต่างที่สำคัญคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอดีตมุ่งเน้นในทางให้การศึกษาทางพระพุทธศาสนาด้วยภาพเป็นหลัก ส่วนความเป็นศิลปะนั้นให้ความสำคัญลำดับรอง จิตรกรรฝาผนังจึงเสมือนเพียงภาพประกอบเรื่องเท่านั้น สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดปิบผลิวัน ไม่ได้เน้นการเล่าเรื่องพุทธประวัติด้วยภาพ แต่นำเรื่องพุทธประวัติตอนสำคัญมาเป็นสื่อในการแสดงออก จึงเป็นงานศิลปะหรือจิตรกรรมที่แสดงแบบอย่าง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของการแสดงออกในงานศิลปะเฉพาะแต่ละบุคคล ลักษณะการจัดวางองค์ประกอบของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดปิบผลิวันนั้น เน้นการจัดวางแบบเรียบง่าย คำนึงถึงความงามขององค์ประกอบศิลป์ และการจัดวางภาพให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเนื้อหา เรื่องราว กับลักษณะของสถาปัตยกรรม ตลอดจนขนาดความกว้าง ยาว และปริมาณพื้นที่โดยรวมของฝาผนังทั้ง 4 ด้าน ที่ใช้ในการเขียนภาพจิตรกรรม โดยมีการลำดับภาพเริ่มต้นจากฝาผนังด้านขวาของพระประธาน ฝาผนังด้านหลังพระประธาน ฝาผนังด้านซ้ายของพระประธานและสุดท้าย คือ ฝาผนังด้านตรงข้ามพระประธาน ซึ่งแบ่งภาพเขียนออกเป็นตอนต่างๆ ด้วยกันทั้งหมด 7 ตอน ประกอบด้วย 1.ดุสิตปริวัตต์ 2.คัพภรานิกขมนปริวัตต์ 3.พุทธบูชาปริวัตต์ 4.โพธฺสัพพัฎฎปริวัตต์ 5. ธัมมจักกปริวัตต์ 6.เทโวโรหนปริวัตต์ 7.มหาปรินิพพานปริวัตต์<br /> <dd>ภาพรวมทั้งหมดของการแสดงออกในจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว มุ่งเน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกถึงความศรัทธาในพุทธประวัติและพุทธศาสนา ภาพจิตรกรรที่ปรากฎมุ่งให้คุณค่าในความหมายของการเกิดที่โน้มนำไปสู่ความเจริญงอกงามเบ่งบาน อันเป็นทิพย์และปัญญาตามความคติทางพุทธศาสนา เน้นการประสานสอดคล้องกันของ เส้น สี น้ำหนัก รูปทรงน้อยใหญ่ และพื้นที่ว่างของภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง เป็นความเรียบง่ายที่ปรากฎความเคลื่อนไหวอย่างเป็นระเบียบ รู้สึกได้ถึงความเบาลอย และความกลมกลืนในบรรยากาศของโครงสี่ส่วนรวม แสดงออกถึงความสว่างและอบอุ่นที่เป็นความงามในลักษณะหนึ่ง และรู้สึกถึงความสงบ ความสูงส่งงดงามและลึกซึ้งของพุทธศาสนา ถ่ายทอดความคิดและเนื้อหาเป็นไปในทำนองความสมบูรณ์ ความลอยตัวของจิตวิญญาณตามคติทางพุทธศาสนา

This is an experimental development research in philosophy in the field of painting art, on the creative effects of mural painting on Buddha's life in the chapel of Pip Paliwan Temple in Salamai Subdistrict, Takbal District of Narathiwat Province.<br /> From the creative and analytical study of the murals of the chapel, it is found that the mural painting done is a modern style different from those of the past, with an experiment on transforming the art of presentation from the traditional styl using human figures (of heroes-heroines) portrayed in dust paint in the two-dimensional linecut a new style using significant tree in buddha's lifs story as symbols to convey meanings. The materials, techniques, and methods of presentation used are also new in the creation of mural art and totally different from those of the Ayudhaya and early Rathanakosin periods; the arrangement of picture composition is different as well. The major difference lies in the fact that the mural art of the past focussed on education on Buddhism using pictures with art work playing a supplementary role, so the murals served only to support the story telling whereas the murals in the chapel of Pip Paliwan Temple focus on the use of painting to narrate Buddha's biography portraying only the major events of His life. This is, therefore, a stylistic art work typical of individualistic art of expression. The arrangement of painting composition of the Pip Paliwan Temple murals is characterized by simplicity to create beauty as well as to achieve a suitable proportion in the content, story, and architectural features including the length, width, and the total area of the fousides of wall used for painting. The chronological order of paintings stars from the well to the right of the principal Buddha image, the wall behind the principal Buddha image, Followed by the wall to the left of the pricipal Buddha image and the well on the opposite side of the Buddha image. The painting are divided into seven categories namely : 1. Dusit Pariwatta (sinifying the time before Buddha was reincamated in to the life of Prince Siddharth) 2. Kapphanikkhamana Pariwatta (signifying the time when Buddha entered the womb of his holy Mother) 4. Buddha Puja Pariwatt (signifying Prince Siddharth's wish to attain enlightenment) 5. Dharmachakka Pariwatta (signifying the time when Buddha gave his first Preaching) 6. Devorohana Pariwatta (signifying the time Buddha descended from heaven after preaching His holy Mother) and 7. Mahapari Nirvanna Pariwatta (signifying Buddha entering Nirvanna)<br /> All the painting done on the mural are neant to express the deep religions faith in Buddha's life story and Budhism. They are created to give value to the meaning of birth lesding to the attainment of prospority, like flower in full bloom. This is the divine wisdom of Buddhist philosophy. The coherence of lines, colors, depths, and shapes in various sizes, and the vacant spaces inbetween yields the simple movement in order and creates an elevated hamony in the overall color effect giving brilliance and warmth, which is truly beautiful. the atmosphere of peace, serenity, and profound beauty of Buddhism can be perceived in the conveyence of thoughts and content which reflects complete loftiness of spirituality in the Buddhist concepts.
     ผู้ทำ/Author
Nameพิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย (หน้า 10-48)
บทที่ 2 ภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย (หน้า 49-61)
บทที่ 3 การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 62-108)
บทที่ 3 การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 109-136)
บทที่ 3 การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 137-180)
บทที่ 4 วิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 182-221)
บทที่ 4 วิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 222-258)
บทที่ 4 วิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปิบผลิวัน (หน้า 259-271)
บทที่ 5 บทย่อ สรุปผล ปัญหา และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--จิตรกรรม
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4711
     Counter Mobile: 65