ชื่อเรื่อง/Title ผลกระทบของการสื่อสารมวลชน: ทัศนคติของประชาชนในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ / Effects of Mass Media: Attitudes of People in the Three Southernmost Province towards News Coverage on Violent Crises
     บทคัดย่อ/Abstract
เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีบทบาทในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสารต่อสถานการณ์และผู้คนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้รับสารที่ใช้สื่อเป็นช่องทางหลักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อยางต่อเนื่องเปนระยะเวลานานถึง 3 ปีนั้นก็เช่นเดียวกันเชื่อกันว่าการนําเสนอข่าวดังกล่าวของสื่อมวลชนมีผลต่อการรับรู้ และการเข้าใจผิดรวมทั้งสร้างทัศนคติด้านลบต่อศาสนาอิสลามและชาวมุสลิม รายงานวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการสื่อสารมวลชน : ทัศนคติของประชาชนในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ต่อการนําเสนอข่าวเหตุการณ์ความไมสงบฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อมุ่งศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการนําเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม และเพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ใชแนวคิดเกี่ยวกับข่าว ทฤษฎีหน้าที่นิยม แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและประโยชน์สาธารณะ ทฤษฎีกําหนดวาระข่าวสาร และทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริงเป็นกรอบในการวิเคราะห์
งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเริ่มจากการสํารวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายจํานวน 900 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชากรที่อาศัยอยู่ในยะลา ปัตตานีและนราธิวาส จังหวัดละ 300 ตัวอย่าง เพื่อตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสื่อมวลชนกับการนําเสนอข่าวความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้จากนั้นดําเนินการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Interview) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ตัวแทนจากกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ผูนําชุมชนและผู้นําศาสนา
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่ามีความสอดคล้องกัน ผลการศึกษาสามารถอธิบายการทํางานของสื่อมวลชนได้ 5 ประเด็นหลักดังนี้ (1) การทําหน้าที่ของสื่อมวลชนที่บกพร่อง (2) ภาพสะท้อนจากสื่อ (3) ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อการนําเสนอข่าวความไม่สงบ (4) สื่อสะท้อนสาธารณประโยชน์ในมิติการบูรณาการทางสังคมและความสมานฉันท์และ (5) แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ ผู้ให้สัมภาษณ์มีทัศนะว่าสื่อมวลชนทําหน้าที่ไม?เหมาะสมในการนําเสนอข่าวความไม่สงบ ซึ่งทําให้เกิดภาพสะท้อนในแง่ลบที่ทําให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจผิดต่อชาวมุสลิมและศาสนาอิสลามโดยรวม จึงส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล เช่น ภาพลักษณ์เหมารวม ความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจต่อกัน และในระดับสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ความมั่นคงของชาติ ซึ่งผลกระทบทั้งสองระดับนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากการวิเคราะห์บทสนทนายังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าที่ผ่านมาสื่อมวลชนยังไม่เป็นสื่อเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแท้จริง นอกจากไม่ช่วยให้เกิดการบูรณาการทางสังคมและความสมานฉันท์ เนื่องจากสื่อไม่ให้โอกาสกับคนกลุ่มน้อยในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ไม่คํานึงถึงความเหมาะสมและรสนิยมอันดีแล้ว สื่อยังไม่เคารพหรือให้ความสําคัญของความแตกต่างทางวัฒนธรรม สําหรับข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นพ้องกันว่าหากสื่อมวลชนทําหน้าที่ได้เหมาะสมโดยการเป็นสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะประโยชน์ และนําเสนอข่าวอย่างสมดุลและเที่ยงธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์เป็น และยึดมั่นจรรยาบรรณ รวมทั้งให้ความสําคัญและเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมแล้ว จะช่วยให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริง ซึ่งสามารถขจัดความเข้าใจผิดต่อเหตุการณ์หรือกลุ่มคนได้

     ผู้ทำ/Author
Nameนุวรรณ ทับเที่ยง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร
     เนื้อหา/Content
ต้องการข้อมูลฉบับเต็มติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
     Contributor:
Name: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 11975
     Counter Mobile: 34