ชื่อเรื่อง/Title จิตรกรรมฝาผนังวัดไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การศึกษาในด้านอิทธิพลร่วม / Thai Monastery Mural Painting in Three Southern Border Provinces of Thailand : A Study of Its Joint Influences Arayan Laosat
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยจิตรกรรมฝาผนังวัดไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมของศิลปะอื่นๆ จากแหล่งภายนอกที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดไทยในสามจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เพื่อศึกษา MOTIF ของศิลปวัฒนธรรมมุสลิมทีมีอิทธิพลต่อการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังของช่างพื้นถิ่นในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3. เพื่อนำไปใช้ประกอบในการเรียนการสอนวิชาศิลปาชีพ 1-2 และวิชาศิลปะไทย 1-2-3 ของโปรแกรมวิชาเอกศิลปศึกษาของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
4. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป
5. เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย
จากการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีถ่ายรูปจิตรกรรฝาผนัง จำนวน 3 วัด ได้พบว่ามีเพียงสองจังหวัดที่นิยมเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานีกับนราธิวาสเท่านั้น ในการวิเคราะห์ได้อาศัยข้อมูลจากประวัติวัดต่างๆ กับภาวะแวดล้อมในสมัยของการปลูกสร้างวัดนั้นๆ ควบคู่กับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในครั้งนั้นด้วย
ดังนั้น เพื่อสะดวกต่อการวิเคราะห์ด้านอิทธิพลร่วมในภาพจิตรกรรมฝาผนัง จึงได้แบ่งกลุ่มจิตรกรรมฝาผนังออกเป็นสามกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ คือ
1. การออกแบบในการจัดองค์ประกอบภาพ
2. องค์ประกอบภาพ
3. การใช้สีลงบนภาพ
กลุ่มที่ 1
-วัดป่าศรี ตำบลป่าศรี อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
-วัดควนใน ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
-วัดหงสาราม ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
กลุ่มที่ 2
-วัดมหิงษาราม ตำบลคอกกระบือ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
-วัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
-วัดโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มที่ 3
-วัดบ้านกลางเทพนิมิต ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
-วัดควนใน ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตต่นี
-วัดโคกมะเฟือง ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
โดยสรุปแล้ว พบว่ามีลักษณะสำคัญหรือ MOTIF ของศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น หรือศิลปมุสลิมผสมเจือเป็นอิทธิพลร่วมในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ได้แก่
กลุ่มที่ 1
-รูปช้างฉลุและรูปพระบิดาของพระยาวัสดีมารเป็นลักษณะของรูปหนังตลุงภาคใต้
-รูปอมนุษย์เป็นลักษณะของรูปเทพเจ้ากาลอ หนังตลุงชวาหรือวายังเซียม
-รูปบ้านทรงแมและห์เป็นลักษณะทรงบ้านของชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่นตำบลบราโอ
-รูปลวดลายยาลอมิลาละห์เป็นลักษณะของลวดลายตกแต่งหน้าจั่วหรือบนขอบหน้าต่างบ้านชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่นในจังหวัดปัตตานี หรือในเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มที่ 2
-รูปลวดลายตกแต่งเสาในโบสถ์และบนผนังคอสอง เป็นลักษณะลวดลายมุสลิมประเภท Floral Patterns
-การชนโค-การชนแกะ เป็นกีฬาของชาวพื้นถิ่นภาคใต้ ทั้งไทยพุทธ-มุสลิม
-รูปพระธิดาของพระเจ้ากรุงกุสินาราและพระพี่เลี้ยง เป็นลักษณะของรูปหนังตลุงภาคใต้
-รูปเครื่องดนตรีประเภทดีดหรือสี เป็นลักษณะของซึงประกอบเพลงซอในพื้นถิ่นล้านนาไทยภาคเหนือ
-รูปการแต่งกายของภาพกาก เป็นลักษณะผ้าปาเต๊ะ หัตถกรรมพื้นถิ่น จังหวัดนราธิวาส
-คำอุทาน "โอโหลย" มาจากคำว่าอัลเลาะห์ พระเจ้าแห่งศาสนาอิสลาม
-รูปกริช เป็นลักษณะของอาวุธสำหรับป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ในอดีต
กลุ่มที่ 3
-รูปอมุษย์เป็นลักษณะคนป่าเผ่าซาไกในภาคใต้
-รูปบ้านทรงบลานอ เป็นลักษณะของทรงบ้านชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่นในตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
-รูปลวดลายยาลอมิลาละห์ เป็นลักษณะตกแต่งหน้าจั่วหรือบนขอบหน้าต่างบ้านชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่นในจังหวัดปัตตานี หรือในเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
-รูปชาวไทยมุสลิมทำพิธีละหมาด
-หัตถกรรมหมาตักน้ำของชฃาวพื้นถิ่นเขตชนบทภาคใต้ ทำจากกาบทมากหรือกาบไม้หลาวชะโอน
-โต๊ะบิดิน ภาษาชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่น แปลว่าหมอตำแย
นอกจากนี้ ยังได้พบว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 กลุ่ม ผู้เขียนเป็นช่างพื้นถิ่นกลุ่มเดียวกันเกือบทั้งหมด แต่ผลงานมักแตกต่างกันไป โดยมีการพัฒนาด้านเทคนิคตามระยะเวลาที่ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังขึ้นในวัดนั้นๆด้วย

     ผู้ทำ/Author
Nameอรายัน เลาสัตย์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วัดที่ได้รับการวิจัยและเนื้อหาในจิตรกรรมฝาผนัง...
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลของการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ภาคผนวก (หน้า 101-115)
ภาคผนวก (หน้า 116-130)
ภาคผนวก (หน้า 131-144)
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--จิตรกรรม
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2530
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5251
     Counter Mobile: 51