ชื่อเรื่อง/Title ระดับการเรียนรู้และเข้าใจการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 187/2546)
     บทคัดย่อ/Abstract     การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ระดับความเข้าใจและการรับรู้ในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 187/2546 ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พร้อมกับศึกษาความเห็น ความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และความเชื่อมั่นในพลังสันติวิธีต่อการแก้ไขปัญหา สุดท้ายจะได้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนตามคำสั่งดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทั้งในระดับนโยบายและระดับผู้ปฎิบัติงานจาก 1) กลุ่มทหาร 2) กลุ่มตำรวจ และ 3) กลุ่มปกครอง
    ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมระดับความเข้าใจและการรับรู้ในแนวคิดและแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งสำนักฯ ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ยังไม่มีความชัดเจนพอ โดยมีสาเหตุคือ
1. วิธีการในการปฎิบัติตามแนวทางสันติวิธีด้วยการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฎิบัติของระบบราชการไทยไม่เอื้อต่อผู้ปฎิบัติระดับล่างให้รับรู้และเข้าใจในนโยบาย โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มดังนี้
    1.1 กลุ่มทหาร กองทับก ระดับนโยบายยึดถือแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งสำนักฯ เป็นแนวทางกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายเดิมที่มีอยู่ ส่วนระดับผู้ปฎิบัติไม่ได้รับรู้และเข้าใจในหลักการของสันติวิธีตามคำสั่ง แต่รับรู้และเข้าใจในแนวทางสันติวิธีตามกรอบของกองทัพบก เพราะนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วนสันติวิธีถูกนำมาแปลงเป็นคำสั่งเฉพาะ และย่อลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฎิบัติเป็นลำดับขั้นลงมา สำหรับกองทัพเรือ ระดับนโยบายนำแนวคิดและแนวทางตามคำสั่งฯ มาปรับใช้เป็นแนวทางปฎิบัติงาน โดยมีการอบรมเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินให้ทราบแนวทางปฎิบัติที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนปฎิบัติการในพื้นที่ ในระดับผู้ปฎิบัติ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินได้เห็นคำสั่งฯโดยตรง และนำมาใช้ในการอบรมผู้ปฎิบัติระดับล่าง จึงทำให้ผู้ปฎิบัติเข้าใจในสาระของคำสั่งฯอย่างชัดเจน
    1.2 กลุ่มตำรวจ
    1.2.1 กลุ่มตระเวนชายแดน ระดับนโยบายรับรู้และเข้าใจแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งฯ อย่างชัดเจน โดยผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนไม่ได้แปลงคำสั่งสู่การปฎิบัติ แต่อบรมชี้แจงอธิบายสาระสำคัญของคำสั่งพร้อมกับการฝึกอบรม ทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ถ่ายทอดไปยังระดับผู้ปฎิบัติอย่างเหมาะสม ในช่วงที่ผ่านมาตำรวจตระเวนชายแดนจึงประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนคำสั่งฯ เป็นอย่างดี
    1.2.2 ตำรวจภูธร มีการเวียนคำสั่งฯ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่ไม่ได้มีการรับรู้และขับเคลื่อนสันติวิธีตามคำสั่งฯ อย่างไรก็ตามตำรวจภูธรได้ปฎิบัติสันติวิธีตามแนวทางขององค์กร ซึ่งถูกให้นำหนักมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเน้นย้ำไม่ให้เจ้าหน้าที่สร้างเงื่อนไขใดๆในพื้นที่
    1.3 ฝ่ายปกครอง มีการเวียนและประชาสัมพันธ์ คำสั่งไปควบคู่ไปกับนโยบายอื่นๆทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองส่วนใหญ่เคยเห็นคำสั่งฯ แต่ไม่มีการรับรู้และเข้าใจแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งฯ นอกจากนี้ฝ่ายปกครองมีความเชื่อว่าการดูแลทุกข์สุขของประชาชนเป็นการปฎิบัติงานในแนวทางสันติวิธีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเรียนรู้สันติวิธีตามแนวทางคำสั่งฯอีก อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเพียง 1ท่านที่มีระดับการรับรู้และเข้าใจในคำสั่งฯอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
2. วัฒนธรรมองค์กร ประสบการณ์จากการทำงาน และภูมิหลังของเจ้าหน้าที่แต่ละคน มีผลโดยตรงต่อการอยากรับรู้หรือปฎิเสธที่จะเรียนรู้ในคำสั่งฯ และส่งผลต่อความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีที่แตกต่างกัน
    ในเรื่องความเชื่อมันในพลังสันติวิธีต่อการแก้ไขปัญหา จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองเห็นพ้องต้องกันในการใช้สันติวิธีเป็นแนวทางในการจัดการความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน และต้องใช้เวลา แต่ความเชื่อมั่นในพลังสันติวิธีต่อการแก้ไขปัญหาจะมีความแตหต่างหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรที่หล่อหลอมและการยึดมั่นในการใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา และประสบการณ์ของบุคคลที่ถูกกล่อมเกลาจากครอบครัวจากการศึกษาและประสบการณ์ชีวิตจริง
    นอกจากนี้ทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีไม่ว่าจะเป็นทางลบหรือทางบวกก็ส่งผลต่อการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่น การใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายเห็นว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อย และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้หลงผิดไม่ให้เลือกใช้ความรุนแรง แต่หากปฎิบัติตามพระราชกำหนดดังกล่าวอย่างไม่เป็นธรรม ก็จะทำให้ประชาชนมีทัศนคติในทางลบต่อเจ้าหน้าที่มากขึ้นได้ ในขณะที่บางกลุ่มยังมีความเห็นว่าไม่ควรใช้สันติวิธีกับผู้ใช้ความรุนแรง
    สำหรับความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการแนวทางสันติวิธี เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจภูธร และกองทัพบกมีความเห็นใกล้เคียงกันว่า การบริหารจัดการแนวทางสัติวิธีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแกนภาคใต้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากผู้ที่แปลงคำสั่งฯ ขององค์กรรัฐกลุ่มเป้าหมายมาสู่กลยุทธ์ในการปฎิบัติยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของคำสั่งฯ และการใช้สันติวิธีในพื้นที่ยังไม่สอดคล้องกัน แต่ตำรวจตระเวนชายแดนและนาวิกโยธินเห็นว่าความเข้าใจชัดเจนในแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งฯ ทำให้การจัดการมีประสิทธิภาพ
    จากผลการวิจัยดังกล่าว ได้นำไปสู่ข้อเสนอที่สำคัญคือ
1. การสร้างความเข้าใจและการรับรู้ในแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งฯ จำเป็นที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ควรสร้างความเข้าใจกับบุคคลระดับนโยบายของทุกองค์กรรัฐกลุ่มเป้าหมายคือ ทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครอง ให้มีความเข้าใจในคำสั่งฯ อย่างชัดเจน และตระหนักถึงความสำคัญของคำสั่งฯ เพื่อให้องค์กรรัฐกลุ่มเป้าหมายได้แปลงคำสั่งฯ สู่การปฎิบัติได้อย่างถูกต้องตามกรอบเกณฑ์ของคำสั่ง ในขณะเดียวกันควรจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจัยทีทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจความหมายของสันติวิธีที่แตกต่างกันด้วย
2. การสร้างความเชื่อมั่นในพลังสันติวิธีต่อการแก้ไขปัญหา ควรเสนอแนะและผลักดันให้องค์กรรัฐกลุ่มเป้าหมายให้ปรับเปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อนคำสั่งฯ หรือพัฒนาวิธีการขับเคลื่อนคำสั่งฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมในแต่ละหน่วยงานดังนี้
    2.1 กองทัพบก
    2.1.1 ควรต้องมีการแจกจ่ายเอกสารคำสั่งฯ ควบคู่กับคำสั่งเฉพาะของกองทัพบกลงมาเป็นลำดับขั้น เพื่อให้ผู้ปฎิบัติระดับล่างสุดได้เข้าใจในเสื้อหาสาระของคำสั่งฯอย่างครบถ้วน
    2.1.2 เร่งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านยุทธการ การข่าวและกิจการพลเรือนให้มีบรรทัดฐานความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีที่ตรงกัน โดยเฉพาะเจ้าหน้าทด้านยุทธการทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฎิบัติรวมทั้งผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ และบุคคลทีเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังโดยตรง
    2.1.3 บรรจะสาระสำคัญของคำสั่งฯเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และความีหลักสูตรวิชาสันติวิธีในวิทยาลัยการทัพบกและในหลักสูตรอื่นของกองทัพ เพื่อให้บุคลากรของกองทัพบกในอนาคตมีความเข้าใจในวิธีการจัดการความขัดแย้งของชาติที่ตรงกัน
    2.2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    2.2.1 ควรมีการกระตุ้นให้ผู้ปฎิบัติทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของแนวทางสันติวิธีตามคำสั่งฯและควรเผยแพร่เอกสารคำสั่งลงไปยังผู้ปฎิบัติทุกระดับขั้น
    2.2.2 ควรให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมที่จะมาปฎิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เห็นเอกสารคำสั่งฯโดยตรง
    2.2.3 บรรจุเนื้อหาสาระสำคัญของคำสั่งฯให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรโรงเรียนตำรวจทุกระดับ
    2.3 ฝ่ายปกครอง ควรกำชับและกระตุ้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปรกครองทุกระดับชั้น ให้เห้นความสำคัญและทำความเข้าใจในคำสั่งฯที่กรมการปกครองได้เผยแพร่แล้วให้ชัดเจน
3. ให้มีกิจกรรทางด้านสันติวิธีกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองอย่างต่อเนื่อง โดยมี"ความมุ่งมั่น" ที่จะสถาปนาแนวคิดสันติวิธี ให้เข้าไปมีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4. ศึกษาและพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรงด้วยสันติวิธี ในพื้นทีที่ประสบความสำเร็จเพื่อให้เป็ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ
5. การนำแนวทางสันติวิธีไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นต้องเข้าใจและตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตรวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหา คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี จึงจำเป็นต้องออกแบบและเสนอแนวทางปฎิบัติในการจัดการปัญหาด้วยสันติวิธีที่ชัดเจนเป็นการเฉพาะพื้นที่
6. ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาความขัดแย้ง ต้องสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องการจัดการปัญหาด้วยสันติวิธีให้อยู่ในจิตสำนึก เพื่อให้การจัดการปัญหาด้วยสันติวิธีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     ผู้ทำ/Author
Nameชิดชนก ราฮิมมูลา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะรัฐศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนิยม
สารบัญ
บทคัดย่อ
บทนำ
บทสรุปและเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--นโยบายการปกครอง
     Contributor:
Name: คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
Roles: สนับสนุนการจัดพิมพ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2549
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4102
     Counter Mobile: 60