|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงและผลการสำรวจความเห็นของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ นับตั้งแต่มีการใช้พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548 และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548
ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ทั้ง 3 จังหวัด มีเหตุร้านเพิ่มขึ้นทั้งในด้านความถี่และความรุนแรง จังหวัดนราธิวาสมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการยิงด้วยอาวุธปืน รองลงมาคือการลอบวางเพลิง และการลอบวางระเบิด ที่น่าสนใจคือการลอบวางระเบิกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.84 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 18.46 ในปี 2548 และระหว่างเดือนมกราคม 2547-กรกฎาคม 2548 พบว่า ชาวบ้านทั่วไปเป็นผู้สูญ
เสียมากที่สุด คือ เสียชีวิต 454 คน จากผู้เสียชีวิตทั้งหมด 730 คน ชาวบ้านบาดเจ็บ 796 คน จากผู้บาดเจ็บทั้งหมด 1313 คน
ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน และข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่รวม 437 ตัวอย่าง ใน 9 อำเภอ พบว่าชาวบ้านเห็นว่าสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่เลวร้ายลงและเลวร้ายลงมากถึงร้อยล ะ55.7 ในขณะที่ชาวบ้านเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการปฏิบัติตามกฎหมายดีขึ้น ร้อยละ 38.4 พฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐดีขึ้น ร้อย
ละ 38 การมีส่วนร่วมของชุมชนดีขึ้น ร้อยละ 49.8 โดยการจัดเวรยาม การดูแลหมู่บ้าน ผู้นำศาสนามีบทบาทสร้างความไว้วางใจต่อกันของคนในชุมชนดีขึ้นร้อยละ 42.4
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | ปิยะ กิจถาวร | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะรัฐศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านกฎหมาย
--กฎหมายและการบังคับใช้
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2548 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
3280 |
|
Counter Mobile: |
130 |
|