ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาส / Factors Affecting People
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาส 2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การเป็นผุ้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกของกลุ่มทางสังคม การได้รับการฝึกอบรม การคาดหวังเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะได้รับกับการมีส่วนร่วมในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ทั้ง 4 ด้าน 3) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาส<br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ หัวหน้าครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในปีงบประมาณ 2542 ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 281 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตามระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน จากจำนวน 948 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูรแบบขั้นตอน<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /> <dd>1. ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสมีส่วนร่วมในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนโดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ การค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา การวางแผนตัดสินใจแก้ไขปัญหา การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการอยู่ในระดับปานกลาง<br /> <dd>2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้านอาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาสโดยรวม ได้แก่ การเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การได้รับการฝึกอบรม การคาดหวังผฃประโยชน์ที่จะได้รับ มีความสัมพันธ์เชิงนิมานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และรายได้มีความสัมพันธ์เชิงนิเสธอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 <br /> <dd>3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาสโดยรวม ได้แก่ การคาดหวังผลประโยชน์ที่จะได้รับ การเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงนิมาน มีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 74<br /> <dd>4. ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ประชาชนไม่รู้และไม่เข้าใจในรายละเอียดและขั้นตอนของโครงการ เนื่องจากประชาชนมีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เจ้าหน้าที่ป่าไม้จะเป็นฝ่ายดำเนินการเอง โดยที่ประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ประชาชนขากความสามัคคี เสียสละ เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกกว่าส่วนรวม การขาดแกนนำและงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการมีไม่เพียงพอ

This research was intended to investigate (1) the level of people?s participation in the Food Bank Program in Changwat Narathiwat, (2) the relationships between related variables: age, educational level, income, group leadership, group membership, training, benefit expectation, and participation, (3) the predictive factors of people?s participation in the Program, and (4) the problems of the Program and suggested solutions.<br /> The subjects of this research were the householders living in the target villages of the Food Bank Program in Changwat Narathiwat during the 1999 fiscal year. The proportional stratified simple random sampling was used to get 281 samples out of 948 households. The data was collected by a questionnaire and then analyzed using the percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson?s correlation coefficient, and multiple regression.<br /> The findings were as follows:<br /> 1. The people in Changwat Narathiwat participated in the Food Bank<br /> Program at a moderate level either overall or in each of these aspects: determining problems, deciding solutions, implementing activities, and evaluating the Program.<br /> 2. Group leadership, group membership, training, and benefit expectation were positively related at the .01 level of significance to overall participation of the people, while income was negatively related to it at .01.<br /> 3. The factors that could positively predict the people?s overall participation in the Program were the benefit expectation, group leadership and group membership. The predictive power was 74%.<br /> 4. The problems of the people?s participation were that they did not<br /> understand every detail of the Program because their education was low. The foresters implemented all activities and allowed them to follow but not to participate in every step. Moreover, the people were uncooperative, undedicated and self-centered. There was also a lack of leadership, budget, and adequate areas to implement the Program.<br /> According to the findings, the Department of Forestry should specify the<br /> policy and convert the plan to practical activities that promote knowledge and understanding among local people about the Food Bank Program. The cooperation between the government sector and community leaders as well as local people should be promoted. The information system should be developed to publicize every step of implementation and to inform people about the benefits they will receive from the Program. The government sector should provide budgets and personnel to assist in implementing the Program so that it will further improve the community forest development and people?s participation.
     ผู้ทำ/Author
Nameลักขณา อาคุณซาดา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผล
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
     Contributor:
Name: มารุต ดำชะอม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3052
     Counter Mobile: 52