|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย ของชาวไทยมุสลิมไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะและระดับความนิยม เหตุผลในการรับข่าวสาร รายการต่างๆ ตลอดจนแหล่งข่าวสารจากสื่อมวลชน ประเภทโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ <br />
<dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,084 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ <br />
<dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ <br />
1.ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 1,084 คน ชาย 672 คน หญิง 412 คน แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 604 คน ยะลา 242 คน นราธิวาส 238 คน แบ่งตามกลุ่มอายุ คือ กลุ่ม 11-20 ปี จำนวน 372 คน 21-30 ปี จำนวน 370 คน 31-40 ปี จำนวน 184 คน 41-50 ปี จำนวน 90 คน และ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 68 คน ส่วนลักษณะทางการศึกษา จำนวน 113 คน ไม่เคยเข้าโรงเรียนเลย จำนวน 242 คน เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาแต่ไม่จบ จำนวน 398 คน จบระดับประถมศึกษา จำนวน 132 คน จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 38 คน จบระดับมัธยมตอนปลาย จำนวน 7 คน จบระดับอนุปริญญาตรี จำนวน 4 คน จบระดับปริญญาตรี จำนวน 138 คน กำลังเรียนและอื่นๆ ส่วนแบ่งตามลักษณะอาชีพ จำนวน 111 คน ประกอบธุรกิจ จำนวน 11 คน รับราชการ จำนวน 4 คน ทำงานรัฐสาหกิจ จำนวน 423 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 1 คน ทำงานบริษัท จำนวน 81 คน เป็นแม่บ้าน จำนวน 103 คน ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 128 คนว่างงานและอื่นๆ จำนวน 222 คน <br />
2.ลักษณะและระดับความนิยม เหตุผลในการรับรายการต่างๆ และแหล่งข่าว <br />
<dd>2.1 สื่อมวลชนด้านโทรทัศน์ รายการทางโทรศัพท์ที่กำหนดในการวิจัย จำนวน 15 รายการ กลุ่มตัวอย่างดูรายการดังกล่าวทุกรายการ และ 3 รายการแรกที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ดูได้แก่ ข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และข่าวในพระราชสำนัก โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบดูรายการกีฬาในระดับมาก ส่วนรายการอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบดูระดับปานกลาง ส่วนเหตุผลในการชมรายการต่างๆ ก็เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติและแก่นสารสำคัญของแต่ละรายการทุกรายการ ส่วนสถานีโทรทัศน์ที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ดูรายการต่างๆมากที่สุด ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ยกเว้นรายการภาพยนตร์จีน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะดูจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มากที่สุด และรายการเผยแพร่ภาษาไทยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะดูจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มากที่สุด <br />
<dd>2.2 สื่อมวลชนด้านวิทยุ รายการวิทยุที่กำหนดในการวิจัย มี 9 รายการ 3 รายการแรกที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับฟัง ได้แก่ รายการเพลงไทย รายการข่าวสลับเพลง และรายการเพลงภาษาอื่น โดยรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบฟังรายการต่างๆอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเหตุผลในการรับฟังรายการต่างๆก็เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติและแก่นสารสำคัญของแต่ละรายการนั่นคือ ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของรายการ ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงที่กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากรับฟัง ได้แก่ สวท. F.M. ยะลา <br />
<dd>2.3 สื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์รายวัน รายการจากหนังสือพิมพ์รายวันที่กำหนดในการวิจัยมีจำนวน 10 รายการ 3 รายการแรกที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อ่าน ได้แก่ ข่าวในประเทศ ข่าวกีฬา ข่าวต่างประเทศ โดยรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบอ่านข่าวต่างๆ อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับเหตุผลในการอ่านรายการต่างๆ ก็เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติและแก่นสารสำคัญของแต่ละรายการ ส่วนหนังสือพิมพ์ที่กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากอ่าน คือ ไทยรัฐ โดยอ่านข่าวการศึกษามากที่สุด
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | อนันต์ ทิพยรัตน์ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | Name | จรูญ ตันสูงเนิน | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | Name | ทวี ทองคำ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | Name | รอฮีม นิยมเดชา | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
--นโยบายและการพัฒนา
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
สภาความมั่นคงแห่งชาติ |
Roles: |
สนับสนุนทุนการวิจัย |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2537 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2892 |
|
Counter Mobile: |
41 |
|