|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน กับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดปัตตานี / Factors Affecting Administrative Efficiency on School-Community Pelations of the Primary School Administrators in Changwat Pattani | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | 1) ระดับปัจจัยทางการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางการบริหารงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 4) ตัวพยากรณประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดปัตตานี เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 1. ปัจจัยทางการบริหาร ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ บุคลิกภาพ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานีมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานีมี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพกับประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี มีความสัมพันธ์ระหว่างกันทางบวกต่ำมาก ได้แก่ อายุ ส่วนปัจจัยทางการบริหารงานที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ทางบวกค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและมีความสัมพันธ์กันทางบวกปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ 4. ปัจจัยสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และด้านมนุษยสัมพันธ์ใช้เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content | ||||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --โรงเรียนกับชุมชน ด้านการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2546 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 10950 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 36 | |||||||||||||||||||||