ชื่อเรื่อง/Title ศึกษาเปรียบเทียบมะฮัรในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ / A Comparative Study of Mahar in Islamic Law According to the View Point of Four Mazhabs
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและความสำคัญของมะฮัรในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ 2) ศึกษาบทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมะฮัรตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ 3) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อที่มีความแตกต่างและเหมือนกันเกี่ยวกับมะฮัรในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่<br /> <dd>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) มะฮัร หมายถึงทรัพย์สินค่าสมรสที่ต้องชำระให้แก่ภริยาด้วยสาเหตุมาจากการสมรส 2) คำที่ใช้เรียกมะฮัรมีทั้งหมดสิบคำ เศาะดาก นิฮฺละห์ อุยูร มะฮัร อะลีเกาะห์ อุกด์ อุกร์ หิบาอฺ เดาล์ นิกาฮฺ 3) สำหรับบทบัญญัติของมะฮัรถือว่าเป็นสิ่งที่วาญิบต้องจ่าย เมื่อได้มีการทำสัญญาสมรสเสร็จสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะได้ระบุตอนทำสัญญาสมรสด้วยทรัพย์สินจำนวนหนึ่งที่แน่นอน เช่น หนึ่งหมื่นบาทเป็นต้นหรือไม่ได้ระบุไว้ตอนทำสัญญาสมรสก็ตาม แม้จะตกลงกันว่าไม่มีมะฮัรหรือไม่มีการระบุก็ตาม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ส่วนมะฮัรยังเป็นข้อผูกพันที่จำเป็นต้องจ่ายต่อไป 4) ชายเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายมะฮัรให้แก่สตรี 5) มะฮัรเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยาแต่เพียงผู้เดียว บุคคลอื่นไม่มีสิทธิใดๆในมะฮัร 6) อัตรามะฮัรมากที่สุด นักกฎหมายอิสลามมีทัศนะที่สอดคล้องกันว่าไม่มีขอบเขตและจำนวนจำกัด 7) อัตรามะฮัรน้อยที่สุด นักกฎหมายอิสลามมีทัศนะแตกต่างกันไป 8) สิ่งที่มีค่า สิทธิและผลประโยชน์สามารถกำหนดเป็นมะฮัรได้

This study airms at 1). investigating the meaning and significance of Mahar in Islamic law according to the view points of four Mazhabs 2) investigating priciples to Mahar according to the view points of four Mazhabs 3) analytically comparing similarities and differences of related to mahar among the Mazhabs<br /> This is a documentary research conducting by referring to evidences of Qu,ran and the sunah and primary sources from the Qur,anic exegesis, Sunah literatures and Seminal Fiqh the four Mazhab. The results of study were as follow :<br /> 1. By definition, mahar was property given to a bride duc to marriage.<br /> 2. There were ten synonws terms for mahar. There were Soduq, Nilah, Uyur, Mahar, Aliqah, Uqd, uqr, Hibah, Tual, Nikah.<br /> 3. As for the principles of mahar, it was compulsory for a husband to give to his wife when marriage was completed whether mentioning or not in the contract to give a fixed amount of wealth e.g. ten thousand bath. Even though there was no mahar or no Mentioning of mahar in the contract, that contract was void. However, the mahar was compulsory to be given still.<br /> 4. The duty of a man was to give mahar to woman had no responsibility for family expenditures.<br /> 5. Mahar was the right of ownership of bribe, others had no any right on it. Any guardian who owned her mahar violated her right like what happened during jahiliyah period. Her husband also had no right to own her mahar as well unless she voluntarily gave him without any coercion and deception.<br /> 6. With regards to the maximum rate of mahar, all Islam jurists had congruently agreed that there was no limitation restrictsd upon amount of property given.<br /> 7. As regard to the minimum rate of mahar, all Islamic jurists had different views i.e., ten Dirham according to Hanali ; one fourth Dinar-equivalent to three Dirham according to Maliki; and every valuable things though less in their values according to Shafi ; I and Hambali.<br /> 8. Mahar was the right to ownership of the bribe, others had no any right on it.
     ผู้ทำ/Author
Nameมะสักรี กาเจ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 นิยามของมะฮัร
บทที่ 3 อัตรามะฮัร
บทที่ 4 ประเภทของมะฮัร
บทที่ 5 เปรียบเทียบมะฮัรในกฎหมายอิสลาม...
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านกฎหมาย
--กฎหมายอิสลาม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิสมาแอ อารี
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4910
     Counter Mobile: 47