ชื่อเรื่อง/Title ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับเยาวชนไทยใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Television Effects on Juveniles In The Five Southernmost Provinces of Thailand and Policy Impilications
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมสื่อโทรทัศน์ ทัศนคติ ความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อสื่อโทรทัศน์ของเยาวชนไทยในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงบุคลิกภาพการแสดงออก เพศ ศาสนา ภาษาที่ใช้ในครอบครัว ตลอดจนพฤติกรรมการรับชมสื่อโทรทัศน์ที่แตกต่างกันของเยาวชน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อกลุ่มเยาวชน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในเขตจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 843 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะการรับชมสื่อโทรทัศน์ไปในทางกระตือรือร้นมากกว่าเฉื่อยชา ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อโทรทัศน์ในอัตราค่อนข้างสูง มีจำนวนชั่วโมงในการรับชมเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมงในวันธรรมดา และ 6-7 ชั่วโมงในวันหยุด เด็กนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยในครอบครัวมีจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์มากกว่าเด็กนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในครอบครัว เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์กับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าดูคนเดียวตามลำพัง หรือกับเพื่อนฝูง และดูรายการเพื่อต้องการผ่อนคลายความเครียดและเพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อสื่อโทรทัศน์ แต่มีความเห็นด้วยว่าโทรทัศน์เป็นแหล่งสำหรับการแต่งตัวเลียนแบบดารา รายการที่รับชมมากที่สุด คือรายการละครหลังข่าวภาคค่ำ สำหรับความพึงพอใจในเนื้อหารายการและประเภทรายการนั้น ส่วนใหญ่พอใจรายการที่มีเนื้อหาตลกขบขัน และรายการประเภทเพลงและมิวสิควิดีโอ และส่วนใหญ่ยังมีความคาดหวังให้มีรายการประเภทสารคดีและรายการเพื่อการศึกษามากขึ้น การวิเคราะห์ยังพบความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างในด้านความชอบชอบเนื้อหารายการบางประเภท นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่ยิ่งมีบุคลิกภาพแสดงออกมาก ก็ยิ่งมีทัศนคติที่ดีต่อสื่อโทรทัศน์มากขึ้นและมีปริมาณรับชมสื่อโทรทัศน์โดยเฉลี่ยในแต่ละสัปดาห์มากขึ้นด้วย กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมีปริมาณการรับชมสื่อโทรทัศน์ในช่วงวันหยุดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนกว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีบุคลิกภาพชอบแสดงออกมากนั้น มีแนวโน้มทางอารมณ์ในลักษณะรุนแรงลดน้อยลง และกลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโทรทัศน์คนเดียวตามลำพังมีแนวโน้มทางอารมณ์ในลักษณะรุนแรงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโทรทัศน์ร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว
นอกจากนี้ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความพึงพอใจในการรับชมเนื้อหารายการบางประเภทกับแนวโน้มทางอารมณ์ และยังพบว่าความแตกต่างทางด้านเพศมีผลต่อความแตกต่างทางด้านความพึงพอใจในเนื้อหารายการ ทัศนคติต่อสื่อโทรทัศน์ และคุณค่าที่ยึดถือของกลุ่มตัวอย่างด้วย

     ผู้ทำ/Author
Nameชาลิสา มากแผ่นทอง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร
Nameปรารถนา กาลเนาวกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameกุสุมา กูใหญ่
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 50-80)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 81-98)
บทที่ 5 การอภิปรายผล
บทที่ 6 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
--สตรีเด็กและเยาวชน
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4915
     Counter Mobile: 42