|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารทาง สื่อมวลชนของชาวไทยมุสลิมในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลในการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อมวลชนของชาวไทยมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนจากชุมชนต่างๆ 500 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ทั้งในมิติเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า <br />
1.สภาพการมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการรับหรือบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อ เช่น เครื่องรับโทรศัพท์ อัตราเฉลี่ย 1.7 เครื่องต่อครอบครัว <br />
2.สภาพการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ นิยมรับและบริโภคจากทุกสถานีในประเทศไทยและบางสถานีจากประเทศมาเลเซีย นิยมมากที่สุดคือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 <br />
3.สภาพการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน นิยมหนังสือพิมพ์ประเภทยอดนิยมมากกว่าประเภทมมาตรฐาน นิยมมากที่สุด คือ ไทยรัฐ <br />
4. สภาพการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อมวลชนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วารสารหรือนิตยสาร ประเภทโปสเตอร์หรือเอกสารแผ่นปลิว อยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพการให้ความเชื่อถือพบว่าให้ความเชื่อถือสิ่งพิมพ์ที่เป็นของทางราชการมากที่สุด <br />
5.สภาพการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อมวลชนประเภทหอกระจายข่าว หรือเสียงตามสาย พบว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ <br />
6.องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับหรือบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อมวลชนแต่ละประเภทประเภทพบว่า องค์ประกอบด้านความเป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือสูง และองค์ประกอบด้านการมีภาพลักษณ์ที่ดีของสื่อมวลชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ <br />
7.องค์ประกอบภายในด้านเนื้อหาสาระที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังต่อไปนี้ <br />
????7.1 ประเภทของเนื้อหาสาระ พบว่าประเภทข่าวการเมือง จะได้รับการเลือกรับและบริโภคมากที่สุด <br />
????7.2 ภาษา พบว่าภาษาที่ใช้ในการนำเสนอข่าวที่เป็นภาษามลายูกลาง จะได้รับการเลือกรับและบริโภคมากที่สุด <br />
????7.3 ด้านความน่าเชื่อถือในตัวสื่อ พบว่า ข่าวสารข้อมูลที่มีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน จะได้รับการเลือกรับและบริโภคมากที่สุด <br />
8.องค์ประกอบภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลจากสื่อ มีดังนี้ <br />
????8.1 ด้านการแนะนำของบุคคลรอบข้าง พบว่าการแนะนำของเพื่อนและข้าราชการจะมีอิทธิพลต่อการเลือกรับและบริโภคมากที่สุด <br />
????8.2 ด้านเวลา พบว่าเวลาที่มีโอกาสรับและบริโภคข่าวสารข้อมูลมากที่สุด คือวันศุกร์
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | จิระพันธ์ เดมะ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
อิสลามศึกษา
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2536 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2727 |
|
Counter Mobile: |
32 |
|