ชื่อเรื่อง/Title บทบาทตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดภาคใต้ / Roles of Community Relation Police in Community Development in Southern Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการพัฒนาชุมชน 2) เปรียบเทียบระดับบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการพัฒนาชุมชนตามตัวแปร อายุ รายได้ ภูมิลำเนา ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การรับการอบรม เกี่ยวกับการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ระดับชั้นของสถานีตำรวจ ความรู้ความเข่าใจในการพัฒนาชุมชนและงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และเจตคติต่อการพัฒนาชุมชน
3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรครวมื้งข้อเสนอแนะในการดำเนินงานงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งปฏิบัติงานในจังหวัดภาคใต้ โดยใช้การสุ่มแบบมีสัดส่วน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที วิเคราะห์ความแปรปวนทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับสูง 3 ด้าน ด้านการศึกษา สังคม การเมืองการปกครอง อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพอนามัย
2. ผลการเปรียบเทียบระดับบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ พบว่า
2.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีอายุสูงกว่า 40 ปี มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา สังคม สุขภาพอนามัย การเมืองการปกครอง สูงกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 31 ปีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีบทบาทด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 31 ปีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีอายุระหว่าง31-40 ปี มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษาสูงกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 31 ปีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผู้ที่มีอายุระหว่าง31-40 ปี มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา สังคม สูงกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 31 ปีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้มี่มีอายุสูงกว่า 40 ปี กับผู้ที่มีอายุระหว่าง31-40 ปี ไม่พบความแตกต่าง
2.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีรายได้สูงมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา การเมืองการปกครองสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านสังคมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีรายได้สูงมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการเมืองการปกครองสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ปานกลางมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษาสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
2.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนทั้ง 5 ด้าน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
2.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีประสบการณ์ทำงาน 10ปีขึ้นไปมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา สังคม สุขภาพอนามัย การเมืองการปกครอง สูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
2.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีประสบการณ์เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา สังคม การเมืองการปกครองดดยรวมสูงกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านสุขภาพอนามัยไม่แตกต่างกัน
2.6 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น 1 มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในด้านการศึกษาสูงกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น 1 มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในด้านการเมืองการปกครองสูงกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น 2 กับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจชั้น3 ไม่พบความแตกต่าง
2.7 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาชุมชนและงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์สูงและปานกลางมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สูงกว่าผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาชุมชนและงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
2.8 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีเจตคติต่อการพัฒนาชุมชนสูงมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัย การเมืองการปกครองโดยรวมสูงกว่าผู้ที่มีเจตคติต่อการพัฒนาชุมชนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีเจตคติต่อการพัฒนาชุมชนสูงมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพอนามัยสูงกว่าผู้ที่มีเจตคติต่อการพัฒนาชุมชนปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่มีเจตคติต่อการพัฒนาชุมชนปานกลางมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพอนามัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3. ปัญหาในการพัฒนาชุมชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ พบว่า ปัญหาขาดงบประมาณที่ใช้สนับสนุนในการทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน
ข้อเสนอแนะ กรมตำรวจควรสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ร่วมมือให้การสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของตำรวจชุมชนสัมพันธ์

     ผู้ทำ/Author
Nameอำนาจ ดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 1-43)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 44-85)
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผล...
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
     Contributor:
Name: มารุต ดำชะอม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2538
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 6893
     Counter Mobile: 35