|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลาม ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดยะลา / Participation in Village Development of Islamic Education Teachers in Primary Schools in Changwat Yala |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดยะลา ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับการมีส่วนร่วม ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีนำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ และศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของครูสอนศาสนาอิสลามกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ตัวแปรอิสระได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางศาสนา วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ รายได้ การติดต่อสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ 6 กระทรวงหลักที่ปฎิบัติงานในท้องถิ่น ตัวแปรตาม คือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดยะลา <br />
กลุ่มตัวอย่างครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดยะลา ปี 2536 เครื่องมืที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ดดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ<br />
????ผลการวิจัยพบว่า<br />
1. ระดับการศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านความร่วมมือค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) ด้านการร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา 3) ด้านการร่วมปฎิบัติงานตามโครงการ และ4) ด้านการร่วมติดตามประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง<br />
2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลาม ปรากฎดังนี้<br />
????2.1 ครูสอนศาสนาเพศชายมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านสูงกว่าครูสอนศาสนาอิสลามเพศหญิง ื้ง 4 ด้าน<br />
????2.2 ครูสอนศาสนาอิสลามที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา มีส่วนร่วมสูงกว่าครูสอนศาสนาอิสลามที่มีวุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญา ด้านการร่วมค้นหาสาเหตุและสาเหตุของปัญหา ด้านการร่วมแก้ไขปัญหา<br />
????2.3 ครูสอนศาสนาอิสลามที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 5-8 ครั้งต่อปี มีส่วนร่วมสูงกว่าครูสอนศาสนาอิสลามที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 1-4 ครั้งต่อปี และครูสอนศาสนาอิสลามที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 9-12 ครั้งต่อปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา <br />
ส่วนในด้านการร่วมปฏิบัติงานตามโครงการ ครูสอนศาสนาอิสลามที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 5-8 ครั้งต่อปีมีส่วนร่วมสูง<br />
กว่า ครูสอนศาสนาอิสลามที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 9-12 ครั้งต่อปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br />
????2.4 ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีความแตกต่างในด้านอายุ วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางศาสนา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ รายได้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านไม่แตกต่างกัน<br />
3. เพศ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา ส่วนอายุ วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางศาสนา วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ รายได้ การติดต่อสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ 6 กระทรวงหลักท่ปฏิบัติงานในท้องถิ่น ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา <br />
4. ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดยะลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือเพศ<br />
5. ปัญหาและอุปสรรคของครูสอนศาสนาอิสลามในการพัฒนาหมู่บ้านส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับประชาชนขาดความรู้ และไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน ผู้นำขาดประสิทธิภาพในการพัฒนา ข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่จัดอบรมสัมมนาเรื่อง การพัฒนาหมู่บ้านให้ประชาชนเลือกผู้นำชุมชนที่มีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบในการพัฒนาหมู่บ้าน
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สุทัศน์ ดำศรี | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
มารุต ดำชะอม |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2538 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
3053 |
|
Counter Mobile: |
27 |
|