ชื่อเรื่อง/Title การได้มา บทบาท และหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์อามม์ของชาวมุสลิมในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีจังหวัดปัตตานีและสงขลา / The Attainment, Roles and Duties of Wali
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการแต่งตั้ง และบทบาทหน้าที่ในปัจจุบันของผู้ดำรงตำแหน่ง วะลีย์อามม์ ที่ได้มาระหว่างจังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา โดยวิธีการรวบรวมเอกสารประกอบการสัมภาษณ์ และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ดำรงตำแหน่งวะลีย์อามม์ และผู้เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนี้ <br /> ????ผลการวิจัยพบว่า วิธีการแต่งตั้งวะลีย์อามม์ของทั้ง 2 จังหวัดมีความคล้ายคลึงกันค่อนข้างมาก แต่ในด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งวะลีย์อามม์ของทั้ง 2 จังหวัดมีความแตกต่างกันดังนี้<br /> ????ในส่วนของจังหวัดปัตตานี ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์อามม์เพราะมี 2 ฝ่าย อันได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัด และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นวะลีย์อามม์ที่มีคณะกรรมการประจำจังหวัดเป็นหลักในการดำเนินการแต่งตั้ง ซึ่งต่างก็เชื่อว่าตนมีความชอบธรรมในการทำหน้าที่เป็นวะลีย์อามม์<br /> ????ในส่วนของจังหวัดสงขลามีความชัดเจนในบทบาทและหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์อามม์ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง<br /> ????คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเห็นควรดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติบริหารองค์กรศาสนาอิสลามโดยระบุให้จุฬาราชมนตรีเป็นวะลีย์อามม์และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนทำหน้าทีเป็นวะลีย์อามม์ในพื้นที่ต่างๆได้ โดยในระหว่างรอการแก้ไขในพระราชบัญญัติฯให้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งวะลีย์อามม์ในล้กษณะเดียวกันกับที่ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการในจังหวัดสงขลา ส่วนใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรมสมควรให้ทั้งดะโต๊ะยุติธรรมและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์อามม์ เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

The main objective of this study was to examine the appointment to the post of Wali Amm and its current role in Pattani and Songhkla Provinces. Comparison of the Wali Amm's appointment process and roles according to Islamic law was also detemined. The study applied the qualitative approach. Documentary research was based on primary sources of Islamic law text whereas the interview and the connoisseur of panelists and those appointed as Wali Amm were applied to supplement the analysis.<br /> The results of the study revealed that in both provinces there were similarities in the process of the appointment of Wali Amm yet slightly differences in their roles as follows :<br /> There were no clear-cut roles of Wali Amm in Pattani province since the two incumbent authorities i.e., Datu Yuthitum of Provincial Court and Wali Amm appointed by Provincial Islamic committee claimed their legal authorities over another. <br /> In Songkhla province, the roles and functions of those appointed as Wali Amm were very clear and the process of the Wali Amm's appointment was fully done.<br /> Suggestions were made to re-look into and amend the Act of Islamic Organization Administration by appointing Chula Rachamontri (Shiekh Al-Islam) as Wali Amm, who has the sole authority to appoint those representing him. However, during the time of amendment of the Act, the process taken in appointing Wali Amm in Songkhla province should be the base for similar appointment in other provinces. For the four southern border provinces in which Datu Yuthitum is incumbent, the process of the appointment of Wali Amm should be execised by the consensus of Datu Yuthitum and the panelists.
     ผู้ทำ/Author
Nameอิสมาแอ อาลี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 อัลหะดีษและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านกฎหมาย
--กฎหมายอิสลาม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3435
     Counter Mobile: 43