|
บทคัดย่อ/Abstract |
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับการมีส่วนร่วม ค้นหาตัวพยากรณ์ นำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ และศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ ตัวแปรอิสระได้แก่ ระดับการศึกษา, ความคาดหวังในผลประโยชน์ที่ได้รับ, ระดับรายได้, ความถี่ในการได้รับข่าวสาร, ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ, ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพัฒนา ตัวแปรตาม ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5 กลุ่มตัวอย่างตัวแทนหัวหน้าครอบครัวที่เป็นสมาชิกการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่งเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการศึกษา, ความคาดหวังในผลประโยชน์ที่ได้รับ, ระดับรายได้, ความถี่ในการได้รับข่าวสาร, ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ, ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพัฒนา และความถี่ในการติดต่อกับเพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5 ทั้ง 4 ด้าน
2. ระดับการมีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5 อยู่ในระดับปานกลาง
3. ปัจจัยความถี่ในการได้รับข่าวสาร, ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพัฒนา, ระดับรายได้,ความคาดหวังในผลประโยชน์ที่ได้รับ เป็นตัวพยากรณ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย กรมทหารราบที่ 5
|