ชื่อเรื่อง/Title การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในจังหวัดปัตตานี / People
     บทคัดย่อ/Abstract     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน คือด้านการมีส่วนร่วมคิด ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล ศึกษาเปรียนเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน ตามตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ขนาดของครอบครัว การเป็นสมาชิกกลุ่ม และการเป็นผู้นำกลุ่ม ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน
    กลุ่มตัวอย่างประชากรในจังหวัดปัตตานี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
    ผลการวิจัย
1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมคิด ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง
2. เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม พบว่าเพศชายมีส่วนร่วมมากกว่าเพศหญิงทั้ง 4 ด้าน อายุต่างกัน พบว่าด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผลแตกต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกันการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน รายได้ต่างกันพบว่าด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน สถานภาพสมรสต่างกันพบว่าการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน ขนาดของครอบครัวต่างกันพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน ประชาชนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม พบว่าการมีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทั้ง 4 ด้าน และประชาชนที่เป็นผู้นำกลุ่ม มีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนที่ไม่เป็นผู้นำกลุ่มทั้ง 4 ด้าน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการมีส่วนร่วม พบว่าเพศมีความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่วนอายุระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส และขนาดของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม
4 ประมวลปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค คือ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อเนื่อง การไม่รู้ไม่เข้าใจภาษาไทยของประชาชน ขาดความปลอดภันในชีวิตและทรัพย์สิน มีความหวานระแวงต่อเจ้าหน้าที่ ขาดเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนี้โดยตรง
ส่วนการเสนอแนะ คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติต้องร่วมมือแก้ไขปัญหา และกำหนดแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องชัดเจนใช้การประชาสัมพันธ์ชุมชนและมวลชนเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ประสานการสนับสนุนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชน ประชาชนทุกคนต้องร่วมมือป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนเพื่อลดความหวาดระแวง เพิ่มกำลังพลที่รับผิดชอบอย่างเหมาะสม

     ผู้ทำ/Author
Nameวิวัฒน์ ภู่คนองศรี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตศึกษา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผล...
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
     Contributor:
Name: ประหยัด ศรีวิหะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2537
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 6466
     Counter Mobile: 26