ชื่อเรื่อง/Title การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษาสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้ / Using Folk Wisdom for Promoting during Pregnancy: A Case Study of Southern Thai Muslim Women
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยเชิงชาติพันธุ์ทางการพยาบาลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายการสร้างเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลคือ สตรีตั้งครรภ์ไทยมุสลิมและประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้ จำนวน 16 คนและประชาชนในชุมชนที่ผู้ให้ข้อมูลหลักอ้างถึงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของสตรีตั้งครรภ์ เป็นผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 5 คน<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่าสตรีตั้งครรภ์ไทยมุสลิมในชุมชนที่ศึกษานิยมรับบริการดูแลครรภ์จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ร่วมกับดูแลครรภ์โดยใช้วิธีการแบบพื้นบ้านที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาก โดยรับรู้ว่าการดูแลครรภ์ที่ได้รับจากสถานพยาบาลและการดูแลครรภ์ด้วยวิธีการแบบพื้นบ้านต่างก็ช่วยสร้างเสริมสุขภาพเช่นกัน โดยการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ด้วยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของสตรีตั้งครรภ์เป็นดังนี้ 1) ทำพิธีแนแง 2) กินและ/หรือทา น้ำหรือน้ำมันที่ผ่านการทำพิธีสวดขอพร 3) ฝากท้องและยกท้องกับหมดตำแย 4) กินอาหารและสมุนไพร ได้แก่ กินผักผลไม้ กินน้ำแช่ดอกไม้จากเมกกะ กินรากไม้ 5) ปฎิบัติตามความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ได้แก่ปฎิบัตตามความเชื่อทางศาสนา ปฎิบัติตามความเชื่อในการดำเนินชีวิตประจำวัน การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านสร้างเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ทำให้สตรีตั้งครรภ์สุขกาย สบายใจ ซึ่งสตรีตั้งครรภ์หวังผลจากการใช้ภูมิปัญหาพื้นบ้านเหล่านี้ใน 3 ลักษณะ คือ 1) ให้คลอดง่ายและปลอดภัย 2) ให้ลูกไม่พิการและเป็นคนดี และ3)ให้แม่และลูกสบายและแข็งแรง สำหรับการตัดสินใจใช้และ/หรือเลือกใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านใดๆ ของสตรีตั้งครรภ์จะขึ้นอยู่ปัจจัย ดังนี้ 1) ความเชื่อถือผู้มีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์ 3) ความสะดวกในการใช้ 4) ความสอดคล้องกับวิถีชีวิต 5) ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของคน ส่วนใหญ่ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพซึ่งรับผิดชอบดูแลสตรีตั้งครรภ์ไทยมุสลิม สามารถใช้ผลการศึกษาครั้งนี้แนวทางสำหรับจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพชีวิตกับสังคมและวัฒนธรรมมุสลิม

This research was intended 1) to investigate the state and problems of school and community relations performed by elementary school administrators in Changwat Narathiwat,<br /> 2) to compare the state and problems of performance in school and community relations of administrators whose administrative experience and school sizes were different, 3) to investigate the interaction between administrative experience and school's size that affected the state and problems of the administrators' performance 4) to gather problems and suggestions on 5 aspects of school and community relations performed by elementary school administrators in Changwat Narathiwat.<br /> The subjects were 186 elementary school administrators affiliated to the Office of Provincial Primary Education, Changwat Narathiwat. The research instrument was a questionnaire consisting of 3 parts: Part 1 was about the respondents' and schools' general information, Part 2 consisted of 50 questions about state and problems in performing school and community relations, Part 3 was an open-ended questionnaire for the respondents to indicate the problems and suggestions for school and community relations. The data analysis was based on percentages, arithmetic means, standard deviations, the F-test and two-way analysis of variance.<br /> The findings were that the state and problems of school and community relations performed by elementary school administrators in Changwat Narathiwat were<br /> moderate. The administrators with administrative experience and those working in schools of different sizes were not different in their state and problems of this performance. The affects of the interaction between administrative experience and school's size on the states and problems of the administrators' school and community relations were not different.<br /> The major problem of the administrators' performance in school and community relations was the lack of financial budget, materials and equipment, and personnel. Moreover, people in the community were so poor that they did not have time for schools due to their jobs and inability to communicate well. The suggestions on how to solve these problems were to provide enough budget and personnel, to arrange activities for the community during free time but not too often, and to get the personnel who can speak Malay dialect to coordinate the school and community relations for mutual understandings
     ผู้ทำ/Author
Nameจินตนา หาญวัฒนกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2548
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 10829
     Counter Mobile: 26