ชื่อเรื่อง/Title สภาพและปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส / States and Problems of School Lynch Program Management in School under the office of Narathiwat Provincial Primary Education
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน 2.ศึกษาปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน 3.ศึกษาสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน 4.จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้เป็นหัวหน้ารับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.สถานภาพของครูผู้เป็นหัวหน้ารับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน พบว่าส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นครูสอนและมีชั่วโมงสอน มากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีประสบการณ์ในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันน้อยกว่า 5 ปี และไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน
2.สภาพทั่วไปของการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน พบว่าโรงเรียนส่วนมากมีสภาพการดำเนินงานตามคู่มือการจัดกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเอกสารต่างๆที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเผยแพร่
3.ปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน พบว่าปัญหาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านสถานที่ และด้านอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และวัตถุดิบ มีปัญหาอยู่ในระดับกลาง
4.ลำดับความสำคัญของสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน มีดังนี้
4.1 ด้านบุคลากร พบว่า สาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การที่ครูมีชั่วโมงสอนมาก
4.2 ด้านสถานที่ พบว่า สาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ สถานที่ให้นักเรียนนั่งรับประทานอาหารคับแคบ
4.3 ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และวัตถุดิบ พบว่าสาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ตู้ โต๊ะ สำหรับใส่ เก็บภาชนะหรือเครื่องครัวต่างๆ มีไม่เพียงพอ
4.4 ด้านงบประมาณและการเงิน พบว่าสาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ งบประมาณสำหรับการจัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ต่างๆ ในโครงการอาหารกลางวันมีไม่เพียงพอ
4.5 ด้านการจัดดำเนินการ พบว่าสาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ขาดพื้นที่ทำการเกษตร
4.6 ด้านการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่ออาหารกลางวัน พบว่าสาเหตุของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ขาดพื้นที่ทำการเกษตร

     ผู้ทำ/Author
Nameโชคชัย รัตนอุดม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 74-114)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 115-153)
บทที่ 5 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ธีรพงศ์ แก่นอินทร์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2539
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 7622
     Counter Mobile: 29