|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | อิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานี / The Influences of Arub Culture on Malay Society in Pattani Province | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | <dd>การศึกษาวิจัยเรื่องอิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และอิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับที่มีต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานี โดยศึกษาจากเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคล เพื่ออธิบายสภาพการณ์ต่าง ๆ แนวคิดที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม แนวคิดเกี่ยวกับคำยืม และแนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกาย เพื่อใช้ประกอบการศึกษาวัฒนธรรมด้านภาษาและการแต่งกาย จากการศึกษาพบว่า อิทธิพลของวัฒนธรรมอาหรับต่อสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานีเริ่มขึ้นภายหลังจากสังคมมลายูในจังหวัดปัตตานีเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม โดยเริ่มจากวัฒนธรรมทางด้านภาษา ประกอบด้วย อักษรอาหรับ และคำยืม ตามด้วยวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ประกอบด้วย หมวกกปิเยาะห์ ผ้าพันศีรษะ เสื้อโต๊บ และเสื้อคลุม นอกจากนี้ยังพบว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายแบบชาวอาหรับเป็นเครื่องหมายของผู้มีความรู้ทางศาสนาอิสลามหรืออุละมาอ์ และปัจจุบันยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของชาวมลายูในจังหวัดปัตตานีอีกด้วย The objective of this research is to study the history and the influences of Arab culture on the Malay society in Pattani province. It is a documentary research which relies on relevant literatures, data based on interviews to reflect all different issues in question. The concepts adopted in the study are cultural and socio-cultural changes. The concepts related to loan words and dressing styles are also included inorder to study the culture, language and dressing styles of Malay people in Pattani.<br /> The research found that the influences of the Arab culture on Pattani Malay society began to take root since the Malay people had converted to Islam. In the process they gradually started to learn and accept Arab culture such as Arabic orthography and some Arabic loan words. They later imitated Arab dressing culture for men such as head wear, Turban, robe, and cloak. In addition, the study found that in Pattani the Arab dressing style is mostly adopted by Muslim scholars and it plays an important role in the present time economic life of Pattani. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content | ||||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
--การสื่อสารมวลชน ศิลปะและวัฒนธรรม --ภาษาและการสื่อสาร วิถีชีวิตและประเพณี อิสลามศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2551 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 8706 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 34 | |||||||||||||||||||||