ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลค ตอนที่ 2 ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มบุคคลในชุมชน
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลค เป็นการศึกษาขั้นสำรวจ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรและชุมชนในบริเวณลุ่มน้ำโก-ลค เพื่อช่วยในโครงการวางแผนเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลค ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้และปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมของประชากรในพื้นที่ให้ดีขึ้น สำหรับตอนที่ 2 : ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มบุคคลในชุมชน ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบ Comparison Group Ex Post Facto Study Design ประเภท Cross-Sectional Design โดยเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มอาชีพ คือ ชาวนา ชาวสวนยาง และกลุ่มอาชีพผสม ใช้ตัวอย่างกลุ่มบุคคล จำนวน 45 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฎ ดังนี้<br /> <dd>สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทั่วไป ที่มีในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ คือ ศาสนสถาน ถนน และโรงเรียนชั้นประถม ปัญหาทางด้านการเกษตรที่สำคัญ คือ น้ำไม่พอ น้ำท่วม และการมีไร่นาขนาดเล็ก ในชุมชนที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีโครงการชลประทาน แหล่งน้ำใช้ที่สำคัญในครัวเรือน คือ น้ำบ่อ พืชสำคัญที่ปลูกนอกจากข้าวและยางพาราแล้ว มีลางสาด ลองกอง เงาะ และทุเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีไร่นาขนาดเล็ก น้อยกว่าคนละ 5 ไร่ ชาวนาปลูกข้าวได้น้อยกว่าเมื่อ 5 ปีก่อน ทำนาดำอย่างเดียว แหล่งสำคัญในการทำนา คือ น้ำฝน อุปกรณ์ในการทำนาที่มีกันเป็นจำนวนมาก คือ รถไถ 2 ล้อ<br /> <dd>ชาวสวนยางส่วนใหญ่ มีสวนยางคนละ 5-10 ไร่ ทั้งยางพันธุ์และยางพื้นเมือง แต่ละปีกรีดยางได้น้อยกว่า 100 วัน ส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ ปัญหาสำคัญของการทำสวนยาง คือ ยางราคาต่ำ และมีสวนยางขนาดเล็ก งานที่สมาชิกในครัวเรือนของชุมชนออกไปทำนอกหมู่บ้าน คือรับจ้างทำงานก่อสร้าง ทำสวนปาล์ม และรับจ้างกรีดยาง ส่วนใหญ่ไปทำที่ประเทศมาเลเซีย เพราะค่าจ้างสูงกว่า

Golok river Basin Feasibility study is an exploratory Study aiming at Collecting information on the socio-economic characteristics of the Golok river Basin Population to assist in the project planning for development. The aim for development is to raise incomes and improve social welfare. For Part II : the Groups Socio-Economic Data, the rescarchers used comparison Group Fx Post Factor study Design, Ceoss-sectional Design category, Comparing among three professional groups, namely, padi amallholders, rubber amallholders and mixed (padi-rubber) small holders. 45 community groups were selected as samplings. The analysis results as follows:-<br /> Most of the community infrestructures include holy-places, rosds, and primary schools. Important, agricultural problems are water insufficiencies, floods, and toolittle land areas. In most of the studies areas, there are no irragation projects. The important water resource are water wells. Important plants grown besided, rice and rubber plantation are langsats, longkongs, rambutans and durians. Most of sampling groups own small size of land, less than 5 rais per person. Paddyfarmere grow rice less then 5 yaers before. Transplanting of paddy is the only practice. The most important water resource for the farming is rain water. Most of the ploughinh instrument are two-whesled pushcarts. <br /> Most rubber smallholders own 5-10 rais each. Both old typerubber tree and high yeilding rubber trees give latex for less then 100 days per year. Most assistance derives governments officials. Important problems of rubber land plantation are low prices and small sizes of rubber land.<br /> Works practised by members of the community's household outside villages are construction works, oil-palm plantations and para rubber tapping, mostly in Malaysia because of better payments.
     ผู้ทำ/Author
Nameดลมนรรจ์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameลัลนา ควันธรรม
Organization
Nameมานพ จิตต์ภูษา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 สรุปผลการศึกษา
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2527
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1840
     Counter Mobile: 36