ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / Causal Factors Influencing Academic Achievement of Undergraduate Students at Prince of Songkla University Pattani Campus
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี2) พัฒนารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 520 คน มีตัวแปรพยากรณ์ที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษา รายได้ของครอบครัว รายจ่ายต่อเดือน อันดับที่ในการสอบเข้า วิธีสอบคัดเลือก เวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม ประเภทโรงเรียน นิสัยในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียนและการปรับตัว เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัดจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดเจตคติต่อการเรียน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดนิสัยในการเรียนและแบบวัดการปรับตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Statistica 6.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.30)<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) พัฒนารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า รูปแบบที่ปรับแก้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 3.66 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .85 ที่องศาอิสระ 32 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ .98 ค่าสัมมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ .38 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ร้อยละ 38 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเรียงตามลำดับ คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษา เวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม ประเภทโรงเรียน เจตคติต่อการเรียน รายได้ของครอบครัวรายจ่ายต่อเดือน โดยมีอิทธิพลรวมเท่ากับ .40 .32 .20 .20 .18 .15 ตามลำดับ ตัวแปรที่มีอิทธิพลเฉพาะทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อันดับที่ในการสอบเข้า วิธีสอบคัดเลือก โดยมีอิทธิพลรวม เท่ากับ .14 .09 .08 ตามลำดับตัวแปรที่มีอิทธิพลเฉพาะทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ นิสัยในการเรียน การปรับตัว โดยมีอิทธิพลรวม เท่ากับ .07 .04 ตามลำดับ

This research aimed to 1) analyze a hypothetical model of causal factors influencing academic achievement of undergraduate students at Prince of Songkla University Pattani Campus and 2) to develop an appropriate model for such students Prince of Songkla University Pattani Campus. The samples consisted of 520 first-year undergraduates at Prince of Songkla University Pattani Campus derived through multi-stage random sampling. The independent variables used in this research were 11 observable variants, high school grade point average, family income, expenses per month, order of admission, types of entrance examinations, time spent for additional tutoring, types of high schools, study habit, achievement motivation, attitude toward studying, and adjustment. The research instruments consisted of 1 questionnaire and 4 measurement tests for attitudes towards studying, achievement motivations, study habits, and adjustment. Statistica 6.0 was used in data analysis for basic statistics and LISREL 8.30 was used for Path Analysis in analysis of the causal factor model.<br /> It was found that 1) the hypothetical model of causal factors influencing academic achievement of undergraduate students at Prince of Songkla University Pattani Campus did not agree with the empirical data and 2) the modified, developed model of causal factors influencing academic achievement of undergraduate students at Prince of Songkla University Pattani Campus agreed with the empirical data, demonstrating the following statistics : ?2= 23.66, p = .85 , GFI = .99, AGFI = .98, RMR = .024, RMSEA = .000 and .38 for Multiple Correlation of Determination. All the variables could explain 38 % of the students? academic achievement. The variables which significantly influenced their achievement both directly and indirectly were their high school grade point average, time spent for additional tutoring, types of high schools, attitude toward studying, family income, and expenses per month, showing total effects at .40 .32 .20 .20 .18 and .15 respectively. The variables which only influenced directly their academic achievement were achievement motivations, order of admission, and types of entrance examinations, showing total effects at .14 .09 and .08 respectively. The variable which only influenced indirectly academic achievement were study habits and adjustment, showing a total effect at .07 and .04 respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameปัญจา ชูช่วย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ชิดชนก เชิงเชาว์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 19336
     Counter Mobile: 32