|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุและแรงจูงใจในการเสพยาเสพติดของกลุ่มเยาวชนและผลของยาเสพติด รวมทั้งทรรศนะและมาตรการที่มีต่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการการวิจัยจำนวน 479 คน เป็นผู้ต้องขังที่ได้รับโทษจำคุก ตามความผิดเเห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้ดทษ ซึ่งประกอบด้วยเรือนจำกลางสงขลา จำนวน 150 คน เรือนจำจังหวัดปัตตานี จำนวน 140 คน เรือนจำจังหวัดยะลา จำนวน 92 คน เเละเรือนจำจังหวัดนราธิวาส จำนวน 97 คน ในกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นชายจำนวน 471 คน เป็นหญิง จำนวน 8 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นโสดอายุอยู่ระหว่าง 24-28 ปี มีสถานภาพทางการศึกษาเเละเศรษฐกิจต่ำ เครื่องมือที่มใช้ในการศึกษาวิจัย เเละเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ เเบบสัมภาษณ์ที่มีโครง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 479 คน เเล้วนำมาประมวลเเละวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) เเละอีกวิธีคือ การสัมภาษณ์เจาะลึก (in-dept interview) เป็นการศึกษาประวัติชีวิตเเละประสบการณ์ในการใช้ยาเสพติดของกลุ่มตัวอย่างประกอบกันเป็นสำคัญ<br /><br />
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุและแรงจูงใจในการเสพยาเสพติดของกลุ่มเยาวชนที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ ด้วยกันคือ <br /><br />
ประการแรก สาเหตุจากบุคลิกภาพ เฉพาะตัวของผู้ติดยาเสพติดที่เกืดความคิดเกี่ยวกับตัวเองในทางที่ไม่ดี มีปมด้อย จึงเรียนรู้และรับเอาสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายไว้ ชื่นชอบไปในทางที่ชั่วร้ายเสียหาย มากกว่าที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม เป็น "ทางออก" สำหรับชีวิตโดยการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดสำหรับตนเอง <br /><br />
ประการที่สอง พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่บกพร่องของ "ระบบครอบครัว" ที่ขาดการขัดเกลาขาดการอบรมสั่งสอน และไม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงดูเท่าที่ควรโดยเฉพาะผู้ชาย (พ่อ) ไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือมุสลิม จะมีเวลาว่างมากเเต่ไม่ค่อยมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเท่าใดนัก ภาระหนักส่วนใหญ่จึงตกเเก่ผู้เป็นเพศเเม่มากที่สุด รวมทั้งบรรยากาศภายในครอบครัวที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน ทำให้สมาชิกในครอบครัวขาดความรักความอบอุ่น จึงเป็นผลทำให้ผู้ติดยาเสพติดมีปัญหาเบื่อหน่ายครอบครัวเเละมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน<br /><br />
ประการที่สาม สาเหตุมาจากสังคมสิ่งแวดล้อมและชุมชน ที่เต็มไปด้วยยาเสพติดซึ่งหาซื้อขายกันได้ง่าย มีการซื้อขายเฮโรอีนหรือสารเสพติดกันเเม้กระทั่งในกลางทะเล ซึ่งยากเเก่การจับกุมของตำรวจเเละเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง<br /><br />
สำหรับมาตรการที่จะนำมาใช้ในการป้องกันเเละเเก้ไขการเเพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดชายเเดนภาคใต้เเละในประทศไทยขณะนี้ก้คือกฎหมายเเละการบังคับใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดจริงจังเเละต่อเนื่อง รวมทั้งบทลงโทษเเก่ผู้กระทำผิดให้หนักขึ้น โดยผู้กระทำความผิดส่วนมากได้ระบุว่าการลงโทษจำคุกให้สูงขึ้นเเละโทษประหารชีวิตจะสามารถเเก้ไขปัญหาการเเพร่ระบาดของยาเสพติดได้เป็นอย่างดีเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด
The aims of the present research is to determine the causes, consequences, and potential solutions of youth drug addition in the southern-border provinces of Thailand. The research also tries to look at the trends of drug epidemic here. The sample population were 479 convicts. They are divided into four group: 150 came from Songkla Central Penitentiary, 140 from Patanee Penitentiary, and 92 from Yala, and 97 from Narathiwat. Regarding gender, 471 were male and 8 women. Most of them were Islamic people, single, 24 to 28 years old, and lowly educated, and received small incomes. The research instruments were structured interviews and in depth interviews. The study of the subjects' lives and experience in drug usage were considered crucial, as well.<br />
Results show that the causes that motivated the subjects to go on drugs can be categorized into three groups. The first cause was the drug users' personality, stemming from negative self-image. The second cause resulted from the drug users' psychopathic personality. This came from the failure in family system, which ultimately resulted from the lack of care and nurture from adult family members, especially from the father figure. Whether it be Buddhist or Islamic, the father tended to neglect such a duty despite time and availability. The responsibility eventually lay on the mother. The factor here included the atmosphere in the home the did not promote companionship, leading to devient behaviors. The final cause was from society that is abundant in easy-to-buy drug, even on the sea.<br />
Solutions proposed included serious and continuous implementation and enforcement of drug laws, as well as severe punishment of offenders. The penalization might include longer prison term or capital punishment. |