ชื่อเรื่อง/Title บทบาทของโต๊ะครู : กรณีศึกษาโต๊ะครูหะยีวันอิดรีส บิน หะยีวันอาลี / Roles of Tok Guru: A Case Study of Tok Guru Haji Wan Idris Bin Haji Wan Ali
     บทคัดย่อ/Abstract <br /><br /> งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทของโต๊ะครูโดยทั่วไปที่มีต่อสังคมมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดดยเน้นศึกษาชีวประวัติ บทบาท และผลงานของโต๊ะครูหะยีวันอิดรีส บิน หะยีวันอาลี (บาบอเยาะห์) ทั้งที่เป็นงานเขียน งานแปล และงานสอนเป็นการเฉพาะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ลูกเขย 5 คน ลูกศิษญ์ที่มีชื่อเสียง18 คน มิตรสหาย 8 คน และชาวบ้านบากงแสงแหวง และตุยง5 คน รวมเป็น 34 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยประเด็นสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเกี่ยวกับชีวประวัติ บทบาท เเละผลงานบาบอเยาะห์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างเองเเบ่งออกเป็น2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบเเบบสอบถาม เเละตอนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพต่างๆในสมัยของท่า เเละบทบาทด้านการสอนหนังสือ การปกครองลูกศิษย์ การบริหารปอเนาะ เเละการชี้นำสังคม<br /><br /> บาบอเยาะห์มีชื่อเสียงเต็มว่า หะยีวันอิดรีส บินหะยีวันอาลี บิน ดรามัน หรือ นายหะยีมะเย๊ะ เเวดือราเเม กำเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจนที่หมู่บ้านเบอร์ดังดาลำ (Bedang Dalam) หรือบือเเนดาเเล คือ ตั้งอยู่ในตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อปีฮิจเราะห์ 1351 (พ.ศ.2473) ครอบครัวของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านบากม (บากงในปัจจุบัน) เเละอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเดินทางกลับจากมักกะฮ์ในปีฮิจเราะห์ 1389 (พ.ศ.2511) เเล้วย้ายไปอยู่ที่ตำบลตุยงซึ่งเป็นที่ตั้งปอเนาะปัจจุบันจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2538<br /><br /> บาบอเยาะห์เป็นผู้อดทนอดกลั้น รู้จักยืนหยัดบนลำเเข้งตนเอง เป็นคนว่องไว ด้วยความบากบั่นท่ามกลางความยากลำบากในการศึกษาหาความรู้โดยไม่เคยขาดเรียนเเม้เเต่ครั้งเดียวเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากเชกอับดุลกอเดร์ อัลมันดีลีย์ ชาวอินโดนีเซียให้ทำหน้าที่สอนเเทนท่านที่มัสยิด อัลหะรอมเป็นเวลา 9 ปี หลังจากท่านเชกได้เสียชีวิตไป ซึ่งช่วงนั้นท่านได้เรียนหนังสือไปด้วย<br /><br /> ผลการวิจัย<br /><br /> 1. ท่านบาบอเยาะห์ และโต๊ะครูท่านอื่นๆ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคมมุสลิมทางด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง<br /><br /> 2.ท่านมีบทบาทในด้านการเปิดปอเนาะ และการเรียนการสอนเป็นหัวหน้าสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี สอนหนังสือ 13 สาขาวิขาด้วยกัน เช่น หลักการศรัทธา (เทววิทยาหรือเตาฮีด) ศาสนาบัญญัติ (ฟิกฮฺ) ตะเซาวุฟ ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (นะหฺวู) เป็นเวลา 35ปีเท่ากับเวลาที่ท่านเล่าเรียนมา โดยสามารถถ่ายทอดทุกวิชาที่ได้เล่าเรียนจนสามารถผลิตลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นชาวปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล พังงา กระบี่ เเละชาวกรุงเทพมหานคร ลูกศิษย์บางท่านเป็นลูกเขยของท่านเองเเละเป็นโต๊ะครูปอเนาะบางเเห่ง ตลอดจนเป็นครูสอนศาสนาเเละผู้นำศาสนาในหมู่บ้านต่างๆด้วย นอกจากงานสอนท่านได้เเปลหนังสือริสาละฮฺ อัลมุอาวะนะฮฺ เป็นภาษามลายูซึ่งโดยตั้งชื่อว่า ซิมารฺ อัลญันนะฮฺ เเละได้เขียนหนังสือรวบรวมคำถามที่มาจากสำนักงานคณะกรรมการประจำจังหวัดปัตตานี<br /><br /> 3. ท่านได้เป็นโต๊ะครูตัวอย่างในการคบค้าสมาคมให้แก่บรรดาลูกศิษย์ และชาวบ้านใกล้เคียงตลอดจนผู้ที่มาติดต่อกับท่านในกรณีต่างๆ ในด้านเเนวคิดทางการเมืองนั้นท่านได้ให้ความร่วมมือกับนักการเมืองท้องถิ่นอย่างดี<br /><br /> 4. ทางด้านเศรษฐกิจ ท่านได้ผลิตยาแผนโบราณ 2 ชนิด ยาน้ำมะโยมบำรุงกำลังและยาน้ำมะโยมมัครีปี <br /><br /> เพื่อเป็นรายได้ของตนเอง ตั้งเเต่สมัยเรียนที่ปอเนาะบือเเนฆูเจจนกระทั่งเสียชีวิตรายได้ของปอเนาะนั้นท่านได้จัดการกถศลหลายครั้งเพื่อหารายได้เป็นทุนในการขยายที่ดิน สร้างอาคารเรียน สร้างหอพักนักเรียนหญิง สร้างมัสยิด เเละซื้อที่ดินทำกินเป็นของกลางเพื่อนำรายได้มาบำรุงปอเนาะต่อไป<br /><br />

The purpose of this research is to study the roles of Tok Gurus which influence the Muslim society in the southern border provinces of Thailand in general, emphasing the rules of Tok Guru Haji Wan Idris bin Wan Ali (Baba Yeh), his biography, roles and voluntary works such as writing, tranlation and teaching. In this study, there are 34 samples including 5 of his sons-in-law, 18 of this famous students, 8 of his contempory friends and 3 of his neighbours of Bangkok, Sangweng and Tuyong villages.<br /> The instruments used in this research are interview schedules about Baba Yeh's biography, roles, voluntary works and questionnaires which are built up by research. They are devided into 2 sections; first, it is about general data of replyiers and second, it is about condition of his periods and his role in teaching, writing, translation, controling students, managing pondok and making decisions which concern with religious matters.<br /> Baba yeh's full name is Haji Wan Idris bin Haji Wan Ali bin Draman or Mr.Haji Ma'yeh Wae-Deramae. He was born in 1922 in a poor family at Bendang Dalam or Benae Dalam village, Sadawa area, Yarang district, Pattani Province. In 1927, his family migrated to Bakum (Bakung) village and stayed there until he returened home from Macca in 1965. Then he immigrated to Tuyong village which is his pondok located until he died in 1995.<br /> he was a pateint man, who stood on his feet and was active. Through his hardship in seeking knowledge, Baba Yeh was neven adsent from the learning circle. He had been entrusted by Shaykh Abdulqadir al-Mandili Indonisian origin to be a teacher at Al-Haram Mosque for 9 years after latter passed away. At the same time, he studied with other teachers.<br /> The results of this research are as follows;<br /> 1. Baba Yeh and other Tok Gurus played important roles on Muslim society in southern border provinces, and also provided vital roles in improving Muslim society in education, social, economy and politics.<br /> 2. He played the lifely roles in establishing pondok, teaching, and become leader in a famous pondok in Pattani province. He had taught 13 subjects such as tawhid (oneness of God), figh (Islamic jurisprudence), tasauwuf (Islamic mysticism) and nahwu (Arabic grammar) for 35 years, the same amount of years he spent his life time in seeking knowledge. He could transfer all the subjects he learnt and produced a lot of famous students from Pattani, Narathiwat, Yala, Songkhla, Satun, Pangnga, Krabi and Bangkok. Those are his sons-in-law, Tok Gurus in some pondoks, religious teachers and also the leaders in various villages. Besides teaching, he translated Risalat al-Mu'awanah into Malay and answered the questions addressed by Islamic council of Pattani province.<br /> 3. He was an ideal Tok Guru for his students and nearest villagers who could contect him in various chances. In the political field, Baba Yeh had cooperated on good terms with local politicians.<br /> 4. In the economic field, he produced 2 types of traditional medicines; Notic Mayom potion and Maghribi Mayom potion in oder to earn his living since he had been studying at Benang Gucil Pondok until he died. At the same time, he hold charity celebrations many times in oder to increase pondok incomes as budget to enlarge land, to build up some buildings like school buildings, female students' hostels, mosque and to buy occupational land to bring in revenues for the management and development of pondok in the future.
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลรอแม สุหลง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 สภาพต่างๆ ในสมัยของโต๊ะครู...
บทที่ 3 ชีวประวัติของโต๊ะครู...
บทที่ 4 บทบาทของโต๊ะครู...
บทที่ 5 วิเหคราะห์บทบาทของโต๊ะครู...
บทที่ 6 สรุป อภิปรายผล...
บรรณานุกรม
ภาคผนวก 1 (หน้า111-137)
ภาคผนวก 1 (หน้า138-162)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ผู้นำชุมชน
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: หะสัน หมัดหมาน
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3817
     Counter Mobile: 51