ชื่อเรื่อง/Title ความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี กรณีศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี / View of People and Government Officials in Southern Border Provinces Toward Practices According to Islamic Principles as Judged by "Chularajamontree" Chief Iman of Muslims in Thailand : A Case of Stud
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาร้อยละและระดับความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการไทยมุสลิมและไทยพุทธที่มีข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี และความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อข้อปฏิบัติและความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติดังกล่าว ตามตัวแปรประเภทกลุ่มตัวอย่าง ศาสนาที่นับถือ เขตที่อยู่อาศัย กระทรวงที่สังกัด อายุราชการ และระดับการศึกษาทางศาสนาอิสลาม 3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้นำศาสนา อิสลาม ผู้นำท้องถิ่นมุสลิม และนักวิชาการไทยมุสลิมและไทยพุทธเกี่ยวกับข้อปฏิบัติดังกล่าว<br /><br /> โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างในอำเภอเมือง จ.ปัตตานี จำนวน 436 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบค่าเอฟโดยวิธีการของเชฟเฟ่ <br /><br /> ผลการวิจัย <br /><br /> 1. ความคิดเห็นที่มีต่อข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนา ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี พบว่า โดยรวมประชาชนไทยมุสลิมและข้าราชการไทยมุสลิมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติ แต่ประชาชนไทยพุทธและข้าราชการไทยพุทธไม่แน่ใจว่าจะเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งเมื่อศึกษาในเเต่ละกลุ่ม พบว่า<br /><br /> 1.1 ประชาชนไทยมุสลิมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตวามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี 18 ประเด็น ส่วนประเด็นที่ไม่เเน่ใจมี 8 ประเด็นคือการนำดอกไม้มอบเเก่ครู การมอบธูปเทียนเเก่ครู การอ่านอัลขกุรอานสาบานตัว การกล่าวคำสวัสดีเเละยกมือไหว้ครูไทยพุทธ การทำความเคารพต่อพระบรมแายาลักษณ์ทั้งในลักษณะการยืนตรงเเละก้มศรีาะเล็กน้อย การเข้าไปในมัสยิดของชาวไทยพุทธเเละการกล่าวสลามเเทนคำว่าสวัสดี<br /><br /> 1.2 ข้าราชการไทยมุสลิมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี 21 ประเด็น ส่วนประเด็นที่ไม่เเน่ใจมี 5 ประเด็น คือการใช้อัลขกุรอานสาบานตัว การหยุดวันศุกร์เเละวันเสารืในสถานศึกษาเเละสถานที่ราชการ บทบาทของกลุ่มดะวะฮฺ การทำความเคารพต่อพระบรมฉายาลักษณ์ในลักษณะก้มศรีษะเล็กน้อย เเละการเข้าไปในมัสยิดของชาวไทย<br /><br /> 1.3 ประชาชนเเละข้าราชการไทยพุทธเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี 7 ประเด็น คือ การนำดอกไม้มอบเเก่ครู การใช้อัลขกุรอานสาบานตัว การกล่าวคำสวัสดีเเละยกมือไว้ครูไทยพุทธ กิจกรรมทางศาสนาหลังจากเข้าเเถวเคารพธงชาติ การทำความเคารพต่อพระบรมฉายาลักษณ์ในลักษณะการยืนตรงเเละก้มศรีษะเล็กน้อย เเละการเข้าไปในมัสยิดของชาวไทยพุทธ นอกจากนี้ประชาชนชาวไทยพุทธยังเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติอีก 2 ประเด็น คือ การกล่าวสลามเมื่อพบกันครั้งเเรกเเละการสร้างมัสยิด สำหรับประเด็นที่ข้าราชการไทยพุทธไม่เห็นด้วยมี 1 ประเด็น คือ การหยุดในวันศุกรืเเละวันเสาร์ในสถานศึกษาเเละสถานที่ราชการ ส่วนประเด็นที่ประชาชนไทยพุทธไม่เเน่ใจว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมี 17 ประเด็น ข้าราชการไทยพุทธไม่เเน่ใจว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมี 18 ประเด็น<br /><br /> 2. ความขัดเเย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติดังกล่าว พบว่าโดยภาพรวประชาชนไทยมุสลิม ข้าราชการไทยมุสลิม ประชาชนไทยพุทธเเละข้าราชการไทยพุทธ ยังไม่เเน่ใจว่าข้อปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้มีความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันหรือไม่ เมื่อพิจารณาเเต่ละประเด็นพบว่า มีเพียง 1 ประเด็น ที่ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าไม่มีความขัดเเย้งทางความคิดต่อกัน คือ กิจกรรมทางศาสนาหลังเข้าเเถวเคารพธงชาติ นอกจากนี้ยังมีอีก 3 ประเด็นที่ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่มีความขัดเเย้งทางความคิดต่อกัน คือ การกล่าวสลามเพื่อพบกันครั้งเเรก ๖ยกเว้นข้าราชการไทยพุทธยังไม่เเน่ใจ) การกล่าวคำสวัสดีเเละยกมือไหว้ครูไทยพุทธ (ยกเว้นประชาชนไทยมุสลิมยังไม่เเน่ใจ) เเละการสร้างมัสยิด (ยกเว้นข้าราชการไทยพุทธยังไม่เเน่ใจ) อีกทั้งยังมีข้อปฏิบัติที่ไม่มีความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันตามความคิดเห็นของประชาชนไทยมุสลิมอีก 5 ประเด็น ข้าราชการไทยมุสลิม 2 ประเด็น ประชาชนไทยพุทธ 3 ประเด็น ส่วนประเด็นที่เหลือทั้ง 4 กลุ่มยังไม่เเน่ใจว่าข้อปฏิบัติดังกล่าว จะทำให้มีข้อขัดเเย้งทางความคิดต่อกันหรือไม่ <br /><br /> 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเเละความขัดเเย้งทางความคิดเฉพาะบางตัวเเปร<br /><br /> 3.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อข้อปฏิบัติ 1) ประชาชนเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี มากกว่าข้าราชการ 2) ผู้นับถือศาสนาอิสลามเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าวมากกว่าผู้นับถือศาสนาพุทธ 3) ประชาชนไทยมุสลิม ข้าราชการไทยมุสลิม เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าวมากกว่าประชาชนไทยพุทธเเละข้าราชการไทยพุทธ 4) ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติดังกล่าวมากกว่าข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ เเละทบวงมหาวิทยาลัย 5) ข้าราชการไทยพุทธสังกัดกระทรวงกลาโหมเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติมากกว่าข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาไทย กระทรวงศึกษาธิการ เเละทบวงมหาวิทยาลัย 6) ข้าราชการที่มีอายุราชการต่างกัน เเละข้าราชการไทยพุทธที่มีอายุราชการต่างกัน เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติไม่เเตกต่างกัน<br /><br /> 3.2 ผลการเปรียบเทียบความขัดเเย้งทางความคิดที่เกิดจากข้อปฏิบัติ 1) ข้าราชการเห็นว่าข้อปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้เกิดความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันมากกว่ประชาชน 2) ผู้นับถือศาสนาพุทธเห็นว่าข้อปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้เกิดความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันมากกว่าผู้ที่นับถทอศาสนาอิสลาม 3) ข้าราชการไทยพุทธเห็นว่าข้อปฏิบัติดังกล่าว จะทำให้เกิดความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันมากกว่าประชาชนไทยมุสลิม ประชาชนไทยพุทธเเละข้าราชการไทยมุสลิม 4) ข้าราชการสังกัดกระทรวงต่างกัน ข้าราชการไทยพุทธสังกัดกระทรวงต่างกัน ข้าราชการที่มีอายุราชการต่างกัน ข้าราชการไทยพุทธที่มีอายุราชการต่างกันเห็นว่า ข้อปฏิบัติดังกล่าวทำให้เกิดความขัดเเย้งทางความคิดต่อกันไม่ต่างกัน<br /><br /> 4. ความคิดเห็นของผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่นมุสลิม เเละนักวิชาการไทยมุสลิมเเละไทยพุทธที่เกี่ยวกับข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ตามคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีพบว่า<br /><br /> 4.1 ผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่นมุสลิม เเละนักวิชาการไทยมุสลิมเเละไทยพุทธส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ยกเว้นบางกลุ่มในบางประเด็นที่ไม่เห็นด้วย เช่น การยืนตรงเเละการก้มศรีษะเล็กน้อยต่อพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br /><br /> 4.2 ผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่น เเละนักวิชาการไทยมุสลิมเเละไทยพุทธส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ยกเว้นบางกลุ่มในบางประเด็นที่ไม่เห็นด้วย เช่น การกำหนดให้สถานศึกษาเเละสถานที่ราชการหยุดในวันศุกร์เเละวันเสาร์ การให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานในการพิจารณาหนังสือที่มีข้อความบางตอนขัดกับหลักศาสนาอิสลาม กิจกรรมทางศาสนาหลังจากเข้าเเถวเคารพธงชาติ เเละการเข้าไปในมัสยิดของชาวไทยพุทธ<br /><br />

The purposes of this study were of threefold: (1) to investigate views of Mulim vs Buddhist Thais and Muslim vs Buddhist government officials toward prctices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree the Chief Imam of Muslims in Thailand as well as their view conflicts derived from such practices; (2) to compare views toward practices and their view conflicts derived from such practices in terms of sample type, religion, residence, ministerial office affiliation, years of service and Islamic education attainment; and (3) to investigate views of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics regarding such practices. The samples were 436 residents of Muang District, Pattani Province, comprising 254 Muslim Thais and Buddhist Thais, 175 Muslim and Buddhist government officials, and a total of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders, and Muslim vs Buddhist academics. The research instrument was a 26-item, 3-point rating scale questionnaire on views and view conflicts toward practices in accordance with Islamic priciples. The view and view-conflict parts of the questionnaire were of 6995 and 8784 reliabilities respectively. Data were analyzed using percentage, arithmetic mean, stardard deviation, t-test, F-test of one-way ANOVA ans Scheffe's method.<br /> The findings were as follows.<br /> 1. On views toward practices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree, it was found for the overall views Muslim Thais and Muslim government officials agreed on the practices whereas the Buddhist counterparts were unsure of whether they all agreed on the oractices. Views of each group coud be differentiated as follows:<br /> 1.1 Muslim Thais agreed on 18 items of practices while 8 items they were not sure of, including the practice of giving flowers to the teacher, giving candles and joss sticks to the teacher, using Al-Qur'an in giving an oath, greeting with 'Sawasdee'and giving a 'WAT' gesture to a Thai Buddhist teacher, paying respects to the rural picture by standing up with a little bow, entering the mosque by a Buddhist Thai, and using 'SAWASDEE' greeting instead of 'SALAM' greeting.<br /> 1.2 Muslim government officials agreed on 21 items of practices while 5 item they were unsure of, including using Al-Qur'an in giving an oath, taking Fridays and Saturdays off as a weekend in educational establishments and government offices, roles of Dawah' groups, paying respects by a Buddhist Thai.<br /> 1.3 Buddhist Thais and Buddhist government officials agreed on 7 item of practices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree: giving flowers to the teacher, using Al-Qur'an in giving an oath, giving a 'SAWASDE' greeting and giving a 'WAT" gesture to a Buddhist teacher, taking part in religious activities after paying allegiance to the national flag, paying respect to the rural picture by standing up with a little bow, and entering the mosque by a Buddhist Thai. In addition, Buddhist Thais also agreed on 2 more items of practices, that is, greeting with 'Salam' when first met and building a mosque. The only one item Buddhist government officials disagreed on was taking Fridays and Saturdays off as weekend for educational establishments and government offices. There were 17 items of practices that Buddhist Thais were unsure of whether they would agree or disagree and so were 18 items for Buddhist government officials.<br /> 2. Regarding view conflicts derived from practices, it was found that for the overall views all samples were unsure of whether they would agree on the fact that such practices would cause any view conflicts. However, when each individual item was considered, it was found that the only one item agreed by all samples to cause no view conflict was the taking part in religious activities after paying allegiance to the national flag. Three more main items of practices that were believed not to cause any view conflicts included greeting with 'SALAM' when first met (except for Buddhist government officials being unsure of this), greeting with 'SAWASDEE' and giving a 'WAI' gesture to a Buddhist teacher (expect for Muslim Thai being unsure of this), and building a mosque (except for Buddhist government officials being unsure of this). Five more items of practices that were perceived as causing no view conflicts: two for Muslim government officials and three for Buddhist Thais. For the remaining items, all four groups were unsure whether they would cause any view conflicts.<br /> 3. Comparison results of views and view conflicts for same variables were the following. <br /> 3.1 Comparison results of views toward practices included: 1) people (ie., non-government officials) agreed more with practices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree than government official counterparts. 2) Muslims agreed more with such practices than Buddhist counterparts. 3) Muslim Thais and Muslim government officials agreed more with such practices than Buddhist counterparts. 4) government officials under the Ministry of Defense agreed more with sudh practices than their counterparts under the ministries of Interior, Education and University Affairs. 5) Buddhist government officials under the Ministry of Defense agreed more with such practices than their counterparts under the Ministries of Public Health, Interior, Education and University Affairs. 6) There was no different in agreement with Islamic related practies between government officials with different age and Buddhist government officials with different years of service. <br /> 3.2 Comparison results of view conflicts derived from such practices include the following: 1) Government officials viewed that such practices would cause view conflicts more than people in general did. 2) Buddhist Thais viewed that such practices would cause view conflicts more than Muslim Thais did. 3) Buddhist government officials viewed that such practices would cause view conflicts more than Muslim Thais, Buddhist Thais and Muslim government officials did. 4) There was no difference in the views that such practices would cause view conflicts among government officials and Buddhist goverment officials under different ministries as well as among government officials and Buddhist government officials witj different years of service.<br /> 4. As for views of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics regarding practices in accordance with Islamic principles as judged by Chularajamontree, it was found that:<br /> 4.1 The majority of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics agreed on practices related to Islamic religious beliefs, except for some disagreement in certain items among some groups, such as stnding up with a little bow in paying respect to the H.M. the king's picture.<br /> 4.2 The majority of Islamic religious leaders, local Muslim community leaders and Muslim vs Buddhist academics agreed on practices unrelated to Islamic religious beliefs, except for some disagreement in certain items among some groups, such as observing Fridays and Saturdays as a government agency in monitoring and censoring books and textbooks of which parts are in conflict with the Islamic principles, religious activities after paying allegiance to the national flag and entering a mosque by Buddhist Thais.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุเทพ สันติวรานนท์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameเครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameนพปฎล วิเศษสุวรรณภูมิ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 33-76)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 78-108)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2065
     Counter Mobile: 25