ชื่อเรื่อง/Title การติดตามประเมินผลโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนโดยการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาชนในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ของ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract โครงการเสริมสร้างความเข้มเเข็งของชุใชนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนในระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด ของ 3 จังหวัดชาย<br /> <br /> เเดนภาคใต้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายภาคประชาชนในการใช้กิจกรรมทางเลือกเพื่อเเก้ไขปัญหาความยากจน เป็นโครงการที่กรมการ<br /> <br /> พัฒนาชุมชน โดยศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 9 ดำเนินการเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้เเก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ เป็นปัญหาเร่ง<br /> <br /> ด่วนที่ทุกภาคส่วนจะต้องเร่งรัดบูรณาการ ดำเนินงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างสันติสุขและความเชื่อมั่นต่อการบริหารภาครัฐ ดำเนินการในพื้นที่จังวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส <br /> <br /> อำเภอละ 1 ตำบล รวม 33 ตำบล<br /> การติดตามประเมินผลโครงการเสริมสร้างความเข้มเเข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนในระดับ<br /> <br /> ตำบล/อำเภอ/จังหวัด ของ 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ครั้งนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อติดตามความก้าวหน้า การบริหารจัดการ และปัญหา อุปสรรคการดำเนินงาน สร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ <br /> <br /> และประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งในด้านกระบวนการผลลัพธ์และผลกระทบตลอดจนข้อเสนอเเนะเเนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน ใน<br /> <br /> การประเมินผลครั้งนี้ใช้หลักการประเมินปบบมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ โครงการฯซึ่งประกอบด้วย <br /> <br /> ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนตำบล (ศอช.ต.)/อำเภอ(ศอช.อ./จังหวัด(ศอช.จ.) ผู้นำชุมชนและครัวเรือเป้าหมาย นอกจากนี้ทีมติดตามประเมินผลได้ใช้ข้อมูลในการติดตามประเมิน<br /> <br /> ผลที่สำคัญจาก 3 เเหล่ง คือ ข้อมูลจากการรายงานผลของหน่วยปฏิบัติตามโครงการ ข้อมูลขากการติดตามผลภาคสนามของทีมติดตามประเมินผล และข้อมูลจากการจัดเวทีเรียนรู้<br /> <br /> ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง<br /> ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ คือ ร่วมกับนักวิชาการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 9 พัฒนาการอำเภอ และพัฒนากร กำหนดขอบข่ายในการติดตามประเมินผล<br /> <br /> โครงการสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการสำหรับการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการ สร้างเครื่องมือเพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้เเก่ 1) แบบสัมภาษณ์คณะ<br /> <br /> กรรมการ ศอช.ต. 2) แบบสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหาร ศอช.อ. และ ศอช.จ. 3) แบบสัมภาษณ์ประชาชนในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้าน<br /> <br /> ความตรง ความเป็นปรนัย และความเที่ยง กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 1,237 คน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการ ศอช.ต.ๆ ละ 3 คน จำนวน 99 คน 2) คณะกรรมการ <br /> <br /> ศอช.อ.ๆ ละ 3 คน จำนวน 99 คน 3) คณะกรรมการ ศอช.จ.ๆ ละ 3 คน จำนวน 99 คน 4) ครัวเรือนยากจนเป้าหมายตามเกณฑ์ จปฐ. ในตำบลนำร่องที่เข้าร่วมกิจกรรมทางเลืก จำนวน <br /> <br /> 439 ครัวเรือน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วนตามจังหวัด<br /> ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นอกจากนี้ได้ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติม โดยการสังเกต การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม เป็นการตรวจสอบยืนยันความเที่ยงตรงด้านข้อมูลเพื่อให้ผลการประเมินมีความตรงและเชื่อถือได้มากที่สุด มีการจัดเวทีเพื่อเสนอผลการดำเนินงานของ ศอช.ต. ปัญหาอุปสรรคละข้อเสนอเเนะในการปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้มีการประชุมสรุปบทเรียนและสะท้อนกลับผลการประเมินโครงการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ตัวแทน ศอช.ต. นำร่อง พัฒนาการ และนักวิชาการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 9

     ผู้ทำ/Author
Nameมารุต ดำชะอม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์
Nameสนั่น เพ็งเหมือน
Organization
Nameปราณี ทองคำ
Organization
Nameศิริวรรณ วิบูลย์มา
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ผลการติดตามประเมินผลโครงการ
บทที่ 4 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2103
     Counter Mobile: 34