ชื่อเรื่อง/Title รายงานการปฏิบัติงานตามโครงการสุขภาพมารดาและเด็กในชุมชนรอบอ่าวปัตตานีประจำปี 2540 / Operations according to the maternal and child health project in communities around Pattani Bay, year 1997
     บทคัดย่อ/Abstract โครงการสุขภาพมารดาและเด็ก มีวัตถุประสงค์ดังนี้<br /><br /> 1) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ เจตคติ และปฎิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้ถูกต้อง <br /><br /> 2) เพื่อกระตุ้นให้มารดาได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในด้านสุขภาพครอบครัวและชุมชน<br /><br /> 3) มารดานำบุตรไปรับวัคซีนครบถ้วนตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ <br /><br /> 4) ลดอัตราการเจ็บป่วยของมารดาและทารก<br /><br /> 5) ประสานงานกับองค์กรชุมชนและสถานีอนามัยร่วมมือกันให้สุขศึกษาแก่มารดาและหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง<br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างจาก 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตันหยงเปาว์ บ้านบางตาวา อำเภอหนองจิก บ้านปาตาบูดี บ้านดาโต๊ะ อำเภอยะหริ่ง และบ้านปาเระ อำเภอเมือง ปัตตานี โครงการสุขภาพมารดาและเด็กได้เน้นการให้สุขศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย คือมารดาและหญิงตั้งครรภ์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผดุงภรรค์ ด้วยการประสานงานกับองค์กรชุมชน สถานีอนามัย และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ตั้งแต่ปี 2538-2540 จัดการเรียนรู้ทางสังคมดังนี้<br /><br /> 1) ให้สุขศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายในเรื่องการปฎิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด เลี้ยงดูบุตร และรักษรพยาบาล ให้การอบรมและแจกหนังสือคู่มือการดูแลสุขภาพมารดาและเด็ก<br /><br /> 2) เว้นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ให้มารดานำประสบการณ์ที่ได้ในครั้งแรกไปปฎิบัติแล้วนำมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การปฎิบัติตนของมารดา<br /><br /> 3) ให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคลเรื่องสุขภาพทั่วไป ในขณะที่ออกสำรวจเก็บข้อมูลตามบ้านเรือน<br /><br /> 4) ให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคลแก่มารดาเรื่องการปฎิบัติตนของมารดา <br /><br /> 5) ให้สุขศึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัวแก่ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน<br /><br /> 6) วัดและประเมินผลสุขภาพมารดาและเด็ก ส่วนการติดตามประเมินผลสุขภาพมารดาและเด็ก ใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตนของมารดาก่อนและหลังการปฎิบัติงามตามโครงการ <br /><br /> ????ผลการปฎิบัติงานตามโครงการ มีดังนี้ มารดาเห็นและให้ความสำคัญกับสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวมากขึ้น มารดาส่วนใหญ่จะไปฝากครรภ์ ที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน รับประทานอาหารตามปกติ ทำงานน้อยลงและพักผ่อนมากขึ้น เรียนรุ้การปฎิบัติตนขณะตั้งครรภ์จากเจ้าหน้าที่อนามัยและเพื่อนบ้าน เมื่อถึงกำหนดคลอดมารดาส่วนใหญ่จะคลอดบุตรที่บ้าน โดยมีผดุงครรภ์โบราณช่วยทำคลอด ทำพิธีอาซาน ใช้นมแม่ของตนเองเลี้ยงบุตรและนำบุตรไปรับวัคซีน ป้องกันโรค เมื่อบุตรอายุ 3 เดือนจะให้อาหารเสริม ซึ่งเป็นการให้อาหารเสริมเด็กก่อนถึงวัยอันควร<br /><br /> ????นอกจากนี้ ยังมีมารดาส่วนน้อยงดอาหารแสลงในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ตามความเชื่อที่ได้รับจากบรรพบุรุษ และมารดาบางคนยังไม่ป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยคิดว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาและเป็นบาป ส่วนสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นอาคารแบบถาวร บ้านเรือนไม้ชั้นเดียวยกพื้นขึ้นสูงมีใต้ถุ้นล้าน แม้บ้านเรือนส่วนใหญ่จะมีน้ำประปาและส้วมไว้ใช้ แต่ยังขาดการดูแลรักษาความสะอาดทุกหมู่บ้าน บ้านเรือนใช้น้ำใต้ดินสูบขึ้นเก็บไว้ในหอถังสูง แล้วจ่ายน้ำที่ไม่ได้ใส่ปูนคลอรีนฆ่าเชื้อไปตามท่อส่งน้ำ ใช้ภาชนะรองรับน้ำใส่โอ่งมีฝาปิดและใช้ดื่มกินและใช้สอยโดยไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ บ้านเรือนส่วนใหญ่ทิ้งขยะมูลฝอยกองไว้ บ้างก็ทิ้งกลาดเกลื่อนทั่วไป พร้อมกับเลี้ยงสัตว์ปล่อยไว้ในบริเวณบ้าน ไม่ได้กวาดเก็บและกำจัดมูลสัตว์ นอกจากนี้แล้ว บ้านเรือนที่ไม่มีส้วมใช้ยังถ่ายอุจจาะตามชายป่าข้างบ้าน หรือไม่ก็ถ่ายลงลำคลอง ด้วยเหตุผลดังกล่วนี้ จึงทำให้บ้านเรือนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค และคนในบ้านยังป่วยเป็นโรคติดต่อและอุบัติเหตุ<br /><br /> ????นอกจากนี้แล้วการรักษาพยาบาล มารดาเข้าใจปัญหาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในครอบครัวสามารถป้องกันได้ แต่ไม่ทราบและไม่เข้าใจว่าโรคติดต่อจะป้องกันและรักษาอย่างไร เมื่อคนเจ็บป่วยมารดาจะซื้อยามาให้ผู้ป่วยรับประทานดูอาการก่อน2-3 วัน ตามคำแนะนำของเพื่อนบ้าน ร้านขายยาและโฆษณายา ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้น มารดาจะนำส่งไปที่สถานบริการสุขภาพ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก มารดาจะส่งผู้ป่วยไปให้หมอบ้านรักษากระดูก เนื่องจากมาดาเข้าใจผิดว่าแพทย์ในโรงพยาบาลจะทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก มารดาเกรงว่าผู้ป่วยจะพิการ ส่วนคนมีบาดแผลสด มารดาจะปฐมพยาบาลใช้นำสะอาดล้างแผล ใช้ผ้าสะอาดพันแผล เข้าเฝือก เป็นต้น ซึ่งมารดาไม่มีความรู้การใช้ยาใส่แผลสด นอกจากนี้แล้ว มารดายังไม่ทราบว่า ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก และวัณโรคเป็นโรคติดต่อเด็ก ทั้งที่มารดาได้นำบุตรไปรับวัคซีนป้องกันโรคที่สถานีอนามัย<br /><br /> ????ส่วนความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตนของมารดาก่อนและหลังการปฎิบัติงานตามโครงการสุขภาพมารดาและเด็ก โดยรวมและรายหมู่บ้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ มารดามีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.47 จากเดิมร้อยละ 60.59 ก่อนการปฎิบัติงานตามโครงการปี 2540 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.28 และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตนของมารดาก่อนและหลังการปฎิบัติงานตามโครงการสุขภาพมารดาและเด็ก ปี 2538 -2540 มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ .0974 นับว่ามีความสัมพันธ์กันสูงมาก

     ผู้ทำ/Author
Nameคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสุขภาพมารดาและเด็กในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
รายงานการปฎิบัติงานตามโครงการ...
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3717
     Counter Mobile: 54