ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยและแบบแผนการเกิดอาชญากรรมพื้นฐานในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี / Factors and Pattems of Basic Crime in Amphoe Nongchik Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract ????การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ การรับรู้บทบาทเจ้าหน้าที่ของรัฐกับอาชญากรรมพื้นฐานและแบบแผนอาชญากรรมพื้นฐานที่เกิดขึ้นในอำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี <br /><br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ต้องโทษหรือเคยต้องโทษ ซึ่งได้กระทำอาชญากรรมพื้นฐาน เกี่ยวกับบุคคลจำนวน 23 คน เกี่ยวกับทรัพย์ จำนวน 31 คน และผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ คู่สมรส พ่อแม่ ลูกที่บรรลุนิติภาวะ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ของผู้ต้องโทษ หรือเคยต้องโทษ เด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาว่ามีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ รายละ 2 คน รวมผู้เกี่ยวข้อง 108 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ <br /><br /><br /> ????ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาและรายได้ต่ำ พักอาศัยอยู่ในเขตชนบทและเป็นโสด ส่วนผู้สมรสแล้วส่วนใหญ่จะมีบุตรมากกว่า 2 คน ครอบครัวเคยว่ากล่าวตักเตือนเมื่อกระทำผิด ไม่เคยมีญาติกระทำผิด ห่อแม่อยู่ด้วยกัน ไม่มีสมาชิกในครอบครัวที่ติดเหล้าหรือติดยาเสพติด ในวัยเรียนไม่ชอบไปโรงเรียนขาดเรียนบ่อย ครูให้ความสนใจในระดับปานกลาง เพื่อนในวัยเรียนมีจำนวนมากน้อยเท่าเทียมกัน สำหรับด้านการรับรู้บทบาทเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกตรวจท้องที่ ออกว่ากล่าวตักเตือนผู้สงสัยว่าจะกระทำผิดออกให้ความช่วยเหลือให้คำเเนะนำเเก่ประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม เข้าระงับกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เเละออกสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดนานๆครั้ง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจให้การบริการเเก่ประชาชนเท่าเทียมกันในด้านความยุติธรรมเเละหากกระทำผิดจะต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวได้ ส่วนเเบบเเผนการเกิดอาชญากรรมนั้น พบว่า ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ในขณะที่ผู้ต้องโทษหรือเคยต้องโทษเด็กหรือเยาวชนที่ศาลมีคำพิพากษาว่ามีความผิดเเต่ไม่ต้องรับโทษเป็นเพศชายทั้งหมด เวลาเกิดเหตุในอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคลส่วนใหญ่จะเกิดเวลา 18.01-24.00น. ขณะที่อาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนใหญ่จะเกิดเวลา 12.01-18.00น. สำหรับสถานที่เกิดเหตุนั้นอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคลเกิดเหตุทั้งในเคหสถานเเละที่สาธารณะในจำนวนที่เท่ากัน ส่วนอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนใหญ่จะเกิดในเคหสถานสำหรับวิธีการกระทำผิดในอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคล ส่วนใหญ่ใช้กำลังกาย ในขณะที่อาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการที่ผู้เสียหายไม่อยู่บ้านเเล้วงัดเเงะ สิ่งกีดกั้นเข้าไปลักทรัพย์อาวุะที่ใช้ในอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคลส่วนใหญ่ ใช้ท่อนไม้ ในขณะที่อาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพย์ใช้อาวุธปืน ส่วนสาเหตุการกระทำผิด ในคดีอาชญากรรมพื้นฐานเกี่ยวกับบุคคุลส่วนใหญ่เกิดการทะเลาะวิวาท<br /><br /> ผลการทดสอบสมมตุฐานพบว่า สถานภาพการสมรส มีความสัมพันธ์กับอาชญากรรมพื้นฐาน ส่วนการศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย จำนวนบุตร การอบรมสั่งสอนของครอบครัวเมื่อกระทำผิด การได้รับโทษจองบุคคลในครอบครัวเมื่อกระทำผิด ภูทมิหลังครอบครัว สมาชิกในครอบครัวติดเหล้า ยาเสพติด การชอบไปโรงเรียนในวัยเรียน ความสนใจของครูในวัยเรียน การขาดเรียน เเละจำนวนเพื่อนในวัยเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับอาชญากรรมพื้นฐาน

This research aims to investigate the relationship between the socio-economic demographics, the perception of state authorities' roles, and the basic crime and its patterns recurrent in Amphoe Nongchik of Pattani province.<br /> The samples consisted of convicts or ex-convicts, children or youths under probation, who committee criminal acts during 1995-2000, and their close kindred. Questionnaires were administered to 23 convicts/ex-convicts, and children/youths under probation who were charged with personel injury: to 31 of them who were charged with larceny, and to 108 people related to each of these convicts/ex-convicts, children/youths under probation (2 persons for each; these included their spouse, parents, children at the age of majority, brother, sister, granfather, grandmother, uncle and aunt). Percentages, frequency, arithmetic mean, Chi-squre and codfficient of correlation were used in data analysis.<br /> It was found that the majority of the samples was single, recieved little education, earned low incomes, and resided in rural areas, and those who were married had than 2 children. When committing wrongdoing, these convicts/ex-convicts and children/youths under were reproved or admonished by their family members. None of them of them came from a broken home. None of their relatives had coomitted any crime, and no family members were addicted to drugs or liquor. When young, these convicts/ex-convicts, and children and youths under probation bib not like going to school; they cut classes, and got moderate attention from their teachers. Those with many school peers and those with a few were of about the same number. The majority of the samples opined that police officer, and village headmen, once in a while, went on patrol, gave warmings to suspected wrongdoers, rendered the villagers assistance and advice for crime prevention, solved disputes, and undertook investigattion for wrongdeors. However, most samples opined that the police gave fair services to all people equally well and that wrongdoers would be surely arrested.<br /> With respect to crime patterns, it was found that most injured persons were male while the convicts/ex-convicts and children-youths under probation were all male. Most cases of personal injury took place during 6.01 p.m.-midnight, and most cases of larceny took place during 12.01-6.00 p.m. Personnel injuries taking olace inside dwelling-places and in public areas were of the same number while larceny took place only inside dwelling-places. Most cases of personnel injury involved bodily harms, and a thick stick or club was often resorted to while most cases of larceny involved burgiary, and a gun was often resorted to.<br /> It was found that marital status was related to basic crime. Education, income, residenece, number of children in the family, reproof or admonishment by family members, previous crime punishment of family members, family backgrounds, drugs and liquor addiction of family member of school peers had no relationship with basic crime.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุนทร ขวัญเพ็ชร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษำและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
     Contributor:
Name: เพ็ญพักตร์ ทองแท้
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2546
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1928
     Counter Mobile: 38