|
บทคัดย่อ/Abstract |
????วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาบทบาทของอิหม่ามในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการเมืองการปกครอง <br /><br /><br />
ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยแวดล้อม กับระดับบทบาทในการพัมนาท้องถิ่นของอิหม่ามทั้ง 3 ด้าน และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่นของอิหม่าม กลุ่มตัวอย่างอิหม่ามในจังหวัดปัตตานี <br /><br /><br />
????โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นตามอัตราส่วนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไค-สแควร์<br /><br /><br />
????ผลการวิจัยปรากฎว่า<br /><br /><br />
1. อิหม่ามในจังหวัดปัตตานี ส่วนใหญ่มีอายุ 41-60 ปี การศึกษาภาคสามัญระดับประถมศึกษา ภาคศาสนาระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีย์) ดำรงตำแหน่งอิหม่ามแล้วไม่เกิน 10 ปี และไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดในชุมชน ลักษณะชุมชนเป็นแบบชนบท และมีสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมเป็นการนับถือศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียว<br /><br /><br />
2. อิหม่ามในจังหวัดปัตตานีมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง<br /><br /><br />
3. ปัจจัยส่วนบุคคลของอิหม่ามด้านความรู้ภาคสามัญ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับระดับบทบาทด้านการเมืองการปกครอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลของอิหม่ามด้านความรู้ภาคสามัญมีความสัมพันธ์กับระดับบทบาทด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุมีความสัมพันธ์กับระดับบทบาทด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /><br /><br />
4. ปัจจัยแวดล้อมของอิหม่ามด้านลักษณะของสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับระดับบทบาทด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /><br /><br />
5. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่นของอิหม่ามเกิดจากตัวอิหม่าม ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การขากทักษะความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นของอิหม่าม การขาดงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงาน การขาดความร่วมมือจากประชาชน ทัศนคติเชิงลบของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนความจริงใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง <br /><br /><br />
????ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าวควรให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นแก่อิหม่าม การสนับสนุนงบประมาณ การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในรูปแบบกิจกรรมที่สามารถทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มความจริงใจการพัฒนาท้องถิ่นในชุมชนมุสลิมจังหวัดปัตตานี
The objective of this study is to study the roles of Imams on local development in 3 aspects; politics, economics and social, to study the relationship between their individual and surroundings factors and the level of their roles on local development and to study problems, obstacles and the solutions to local deve;opment.<br /><br />
The sample under study consisted of 240 Imams in Pattani selected by proportional stratified sampling and simple random sampling. The instrument used in this reseach was the interview schedules. The obtained data was analysed by percentage, mean, standard deviation and Chi-square. The staudy were found that : <br /><br />
1. Most of Imams in Pattani are about 41-60 years of ages, finish primary school, and sanawee level, have been Imams for 10 years and they are not involved in any other positions except being Imam. The Characteristics of most Imam's communities are rural type and the social cultural environmental is only Islamic type.<br /><br />
2. The Imam's roles in Pattani on local development in 3 espects : politics, economics, and social was at the moderated level.<br /><br />
3. The individual factors of Imam, both in the aspects of acadamic knowledge and duration of their position were relevent to the level of politicai roles at the level of significant of 0.05. Individual factor of Imam in academic knowledge aspect were relevent to the level of economic roles at the level of significant of 0.05. And individual in the ages aspect was relevent to the social roles at level of significant 0.05.<br /><br />
4. The surrouding factor in aspect of the social cultural environment was relavent to political, economical and social roles at the level of significant of 0.05.<br /><br />
5. The problems and obstacle on local development, it was found that most of the Imams had problems which occured form 3 sources ; Imams themselves, the public and the involved officer such as lack of local development skill, supported loans, public coorperation, positive attitude toward new changer and sincerity of related offices. All the problems were solved by organizing trainings to enhance knowledge and skill, fully lones support, estabilishing understanding among public and the related offices have to give sincere supports on muslim local development. |