|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับการคุมกำเนิด 2) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดของสตรีมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี 3) ศึกษาทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของสตรีมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 4) ศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของสตรีมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำแนกตามลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจและสังคม และระดับความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิด<br />
<dd>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารและภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือสตรีมุสลิมที่สมรสแล้วในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยศึกษาสตรีมุสลิมที่มีสถานภาพเป็นภรรยาอยู่ หรือสตรีมุสลิมที่ขาดจากการสมรสแล้ว ในแต่ละครอบครัว จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณ โดยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Sheffe's method)<br />
<dd>ผลการวิจัยพบว่า<br />
<dd>1. สตรีมุสลิมส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดในระดับสูง<br />
<dd>2. สตรีมุสลิมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดในระดับต่ำและปานกลาง มีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับไม่แน่ใจ ส่วนสตรีมุสลิมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดในระดับสูง มีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับไม่เห็นด้วย<br />
<dd>3. สตรีมุสลิมที่มีภูมิลำเนา ลักษณะชุมชนที่อยู่อาศัย อายุ อายุตอนสมรสครั้งแรก ระยะเวลาการสมรส จำนวนบุตรที่มีชีวิต ระดับการศึกษาด้านสามัญ อาชีพ และรายได้ของครอบครัวต่างกัน มีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกัน<br />
<dd>4. สตรีมุสลิมที่มีสถานภาพทางการสมรสและระดับการศึกษาด้านศาสนาต่างกัน มีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br />
<dd>5. สตรีมุสลิมที่มีระดับความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและต้องการจำนวนบุตรต่างกัน มีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.01 ตามลำดับ
This research aims to 1) study Islamic principles of birth control.2) study knowledge and understanding levels about religious regulations of Muslim women's birth control in Muang district, Pattani province. 3) study attitudes towards birth control of Muslim women in Muang district, Pattani province. 4) compare Muslim women's attitudes towards birth control in Muang district, Pattani province according to the variables of population, economy, society, knowledge and understanding levels of religious regulations of birth control.<br />
This research is a documentary and field work research. The samples in the study are married Muslim women in Muang district, Pattani province. They are 260 Muslim women who maintained their status as wives or divorced women in each<br />
family. The instrument for the data collection is the questionnaires. The statistics used in the analysis are percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, one way analysis of variance and Sheffe?s method.<br />
The results reveal that :<br />
1. Most of Muslim women have knowledge and understanding about the religious regulations of birth control in the high level.<br />
2. Muslim women who have knowledge and understanding about<br />
religious regulations of birth control in the levels of low and medium have attitudes toward birth control in the level of uncertainty, while the Muslim women who have<br />
knowledge and understanding about religious regulations of birth control in the level of high have attitudes toward birth control in the level of disagreement.<br />
3. There are no differences in attitude among Muslim women who are different in domicile, communities and houses, age, age at the time of marriage, duration of marriage, number of living children, non-vocation education levels,<br />
occupation and income.<br />
4. There are differences in attitude among Muslim women who<br />
are different in marital status and Islamic education, at 0.05 level of significance.<br />
5. There are differences in attitude among Muslim women who<br />
are different in the level of knowledge and understanding about religious regulations of birth control and number of children expected, at 0.001 and 0.01 level of significance respectively. |