|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ปัตตานีพัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์ / Pattani geopolitical development. |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของปัตตานีในมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเน้นบทบาททางการค้าและพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของปัตตานีในอดีต เป็นการวิจัยเอกสารร่วมกับศึกษาข้อมูลภาคสนาม อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมิติของพื้นที่และเวลา ตั้งแต่สมัยก่อนกำเนิดอาณาจักรโบราณลังกาสุกะจนถึงสมัยการจัดตั้งมณฑลปัตตานี ในปีพ.ศ.2449<br />
<dd>ผลการศึกษาพบว่า ปัตตานีมีบทบาทการค้าและมีพัฒนาการทางการเมืองการปกครองมาเป็นเวลานาน ปัตตานีมีทำเลที่ตั้งเหมาะสมบนคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นศูนย์กลางระหว่างตะวันออกกับตะวันตก คือ จีนกับอินเดีย รวมทั้งอาหรับและเปอร์เซีย ปัตตานีเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่สมัยลังกาสุกะ ชื่อ "Patani" ปรากฎในเอกสารต่างประเทศมากมาย ปัตตานีในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-23 ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเป็นศูนย์กลางการค้าและเป็นเมืองท่านานาชาติแห่งภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ บันทึกของพ่อค้านักเดินเรือชาวตะวันตก ระบุว่า ท่าเรือปัตตานีเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการค้าในย่านทะเลแถบนี้ นอกจากนั้นยังเป็นท่าเรือคู่ค้า กับเมืองท่าสุรัตมะละบาร์ กัว โคโรมันเดล และเป็นท่าเรือสองพี่น้อง กับท่าเรือฮิราโดะของญี่ปุ่น ปัตตานีในระยะนั้นมีการปกครองที่เข้มแข็ง สามารถคุ้มคองและให้ความเป็นธรรมกับพ่อค้าทุกชาติ มีการดำเนินการด้านการฑูตกับนานาประเทศ เมืองปัตตานีในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-23 ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวง และเป็นมหานครของชาวมลายู นอกจากนั้นยังได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นระเบียบแห่งเมกกะและเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคมลายู<br />
<dd>ในด้านการเมืองการปกครองพบว่า ปัตตานีในอดีตเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย โจฬะ และมัชปาหิต ตามลำดับ ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยของสยามแผ่ขยายอำนาจลงมาทางใต้ โดยร่วมกับเมืองนครศรีธรรมราชเข้ายึดครองเมืองต่างๆตอนล่างของคาบสมุทรมลายู รวมทั้งปัตตานี แต่เมื่ออาณาจักรมะละกามีอำนาจขึ้นมาในปลายพุทธศตวรรษที่20 ปัตตานีและเมืองต่างๆ ตอนล่างของคาบสมุทรมลายูก็ตกเป็นเมืองขึ้นของมะละกา จนถึงปี พ.ศ.2054 มะละกาถูกโปรตุเกสเข้ายึดครองเมืองต่างๆ รวมทั้งปัตตานีจึงเป็นอิสระจากมะละกา แต่อำนาจของสยามก็ยังคงมีอิทธิพลต่อเมืองดังกล่าวในฐานะหัวเมืองประเทศฝ่ายใต้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครองของสยาม รวมทั้งการที่สยามพ่ายแพ้สงครามแก่พม่าถึง 2 ครั้งในสมัยอยุธยา ทำให้ปัตตานีและเมืองประเทศราชอื่นๆ ต่างพยายามเป็นอิสระจากสยาม กองทัพสยามจึงต้องนำกำลังมาปราบปรามอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมืองปัตตานีนั้นมีการปกครองเข้มแข็ง ได้รับความช่วยเหลือจากหัวเมืองใกล้เคียง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้าต่างประเทศที่มาค้าขายอยู่ในเมืองปัตตานี กองทัพสยามเป็นฝ่ายพ่ายแพ้หลายครั้ง แต่ทุกครั้งบ้านเมืองปัตตานีได้รับความเสียหายและมักเกิดความขัดแย้งในการสืบทอดอำนาจ จนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งต่อๆมา ในที่สุดล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2351 สยาามต้องการลดทอนอำนาจของปัตตานี จึงแบ่งการปกครองของเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง แต่ละเมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งจากสยามเป็นผู้ปกครอง ต่อมาในปี พ.ศ.2449 ได้รวมเมืองต่างๆเข้าเป็นมณฑลปัตตานี และยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ.2475 รัฐบาลได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑทและจัดการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งเป็นจังหวัด และอำเภอ ตั้งแต่พ.ศ.2476 เป็นต้นมา ความขัดแย้งและการต่อต้านการปกครองของสยามเกิดขึ้นเป็นระยะะๆ เช่นเดียวกับความเจริญและความเสื่อมของปัตตานี เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้จากงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนและเกิดความสันติสุขอย่างถาวรในภูมิภาคนี้
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | ครองชัย หัตถา | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ประวัติศาสตร์
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2548 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
6125 |
|
Counter Mobile: |
49 |
|