|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตุถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 ว่าอยู่ในระดับใด 2.เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 จำแนกตามสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมอาชีวศึกษา ว่าแตกต่างกันหรือไม่ 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูทั้ง 3 ด้าน คือด้านรอบรู้สอนดี ด้านมีคุณธรรมจรรยาบรรณ และด้านมุ่งมั่นพัฒนา ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 และ 4.เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาวิชาชีพครู ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 <br />
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 จำนวน 914 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแเพียร์สัน <br />
ผลการวิจัย มีดังนี้ <br />
1.พฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 โดยภาพรวม พฤติกรรมของครู อยู่ในระดับมาก (x=3.88) เรียงตามลำดับคุณลักษณะดังนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานเเละการดำรงชีพ (x=4.00) มีความยุติธรรม (x=3.98) มีความเมตตากรุณา (x=3.96) มีความรักเเละศรัทธาในอาชีพครู (x=3.91)มีความขยัน (x=3.91)มีความอดทน (x=3.88)มีความประหยัด (x=3.84) มีวินัย (x=3.83)มีความรับผิดชอบ (x=3.75) ส่วนระดับพฤติกรรม ด้านมุ่งมั่นพัฒนา อยู่ในระดับมาก (x=3.68) เรียงตสมลำดับคุณลักษณะดังนี้ การพัฒนาตนเอง (x=3.74) เเละการพัฒนาชุมชน(x=3.59)สำหรับระดับพฤติกรรม ด้านรอบรู้สอนดีอยู่ในระดับปานกลาง (x=3.53) เรียงตามลำดับคุณลักษณะดังนี้ ด้านรอบรู้สถานการณ์บ้านเมืองเเละการเปลี่ยนเเปลงที่สำคัญ (x=3.55) ด้านรอบรู้เเละความสามารถในวิชาชีพครุ (x=3.53) ด้ารสนับสนุนการเรียนการสอน (x=3.52) <br />
ดดยภาพรวมระดับพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 เห็นว่าอยู่ในระดับมาก (x=3.68) <br />
2.เปรียบเทียบพฤติกรรมของครู จำแนกตามสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมอาชีวศึกษา พบว่า โดยภาพรวม พฤติกรรมของครูทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 จำแนกตามสังกัด สำนักงานคระกรรมการการประถมศึกษาเเห่งชาติ กรมสามัญศึกษา เเละกรมอาชีวศึกษา พบว่า ทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียนที่สังกัดต่างกันเห็นว่า ด้านมีคุณธรรมจรรยาบรรณ เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียน ด้านรอบรู้สอนดี เเละด้านมุ่งมั่นพัฒนาไม่เเตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า พฤติกรรมด้านมีคุณธรรมจรรยาบรรณของครุ ในทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาเเห่งชาติ กับทัศนะของครูเเละผู้บรหารโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียนสังกัดอื่นๆไม่เเตกต่างกัน <br />
ดดยภาพรวมพฤติกรรมของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของครูเเละผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา2 จำเเนกตามสังกัดสำนักงานคณะกรรมกาการประถมศึกษาเเห่งชาติ สังกัดกรมสามัญศึกษาเเละสังกัดกรมอาชีวศึกษา ไม่เเตกต่างกัน <br />
3.ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของครู ด้านรอบรู้สอนดี ด้านมีคุณธรรมจรรยาบรรณ และด้านมุ่งมั่นพัฒนา ในทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน ในเขตการศึกษา 2 พบว่า ด้านรอบรู้สอนดี กับด้านมีคุณธรรมจรรยาบรรณ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 ด้านมีคุณธรรม จรรยาบรรณกับด้านมุ่งมั่นพัฒนามีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001
The purposes of this research were (1) to study the level of teacher behaviors according to the standard criterion of teaching profession as perceived by teachers and school administrators in educational Region II; (2) to compare the different behavior levels of teachers under the jurisdiction of the Office of theNational Primary Education Commission, of the General Education Department and of the Vocational Education Department ; (3) to study three aspects of teacher behaviors according to the teaching profession standard criterion : knowledge ability and well-teaching, good virtue and conduct, and determination in the professional development ; and (4) to gather information and advice on how to improve and develop teaching profession as suggested by teachers and school administrators in Educational Region II.<br /><br />
By stratified and simple random sampling methods, the samples were 914 teachers and school administrators under the jurisdiction of the Office of the National primary Education Commission, of the General Education Department and of the Vocational Education Department and of the Vocational Education Department in Educational Region II. To collect data, the instrumant was a 5-point, 101-item, Likert scale questionnaire, with the reliability of measures of 0.9812. The statistical producedures employed in the data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, an F-test, ANOVA, Scheffe' method for the paired-variable comparison, and the pearson's product Moment Correlation Coefficiet. <br /><br />
The research results indicated that :<br /><br />
1. When a separate aspect of tescher behaviors being considered, the aspect of good virtue and conduct of teacher behaviors was of a high level (x=3.88), with descending order of averaging sub-aspects, thus:being democratic in working and earning a living (x=4.00), being just (x=3.98), being charitable and kind (x=3.96), having faith in the teaching profession (x=3.88), hard-working (x=3.91), being selfdisciplined (x=3.83) and being responsible (x=3.75). The aspect of determination in the professional development was also of a high level (x=3.68): self-development (x=3.74) and community development (x=3.59). At the meatime, the aspect of knowledge ability and well-teaching was of moderate level (x=3.53) : knowledge of the current home-country situstion and significant changes (x=3.55), knowledge and competence in the teaching professionn (x=3.53) and instructional support (x=3.52). <br /><br />
The overall average of teacher behaviors according perceived by teachers and school administrators in Educational Region II was high at 3.68.<br /><br />
2. the comparative analysis of teacher behaviors according to the standard criterion of teaching profession as perceived by teachers and school administrators in Educational Region II indicated that the aspect of good virtue and conduct of the teachers with a different office affiliation was statistically different at .05 level. However, the aspects of knowledge ability and well-teaching and determination in the professional development were not statistically significant. With the Scheffe method for the paired-variable comparison, the result indicated that good virtue and conduct of teacher behaviors was viewed by both Office of the National primary Education Commission and those affiliated with the General Education Department statistically viewed the teacher behaviors significantly at .05 level. However, there was no statistical difference in the teaching behaviors as perceived by those of other oofice affiliations.<br /><br />
Teachers and school administrators with different office affiliations not significantly perceive teacher behaviors according to the standard criterion of teaching profession.<br /><br />
3. As for the relationships among the paired variables as perceived by teachers and school administrators in Educational Region II, it was found that the aspects of knowledgeability and well-teaching paired with good virtue and conduct were positively related and significant at .001 level. So were those of knowledgeability and well-teaching paired with determination in the teaching profession as well as those of good virtue and conduct paired with determination in the teaching profession. |