ชื่อเรื่อง/Title บทบาทของครูในการประเมินผลตามสภาพจริงในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี / Teacher
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ <br /><br /> 1.ศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของครูในการประเมินผลตามสภาพจริงในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ด้านการจัดทำแผนการสอนเพื่อการประเมินผลตามสภาพจริง ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริง ด้านการสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลตามสภาพจริง และด้านการใช้แฟ้มสะสมงานในการประเมินผลและพัฒนา การเรียนการสอน ที่ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นและกลุ่มประสบการณ์ที่สอนแตกต่างกัน <br /><br /> 2.เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของครูในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี <br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ <br /><br /> ????ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /> 1.ครูมีบทบาทในการประเมินผลตามสภาพจริง ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี โดยรวมและรายด้านเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอนเพื่อการประเมินผลตามสภาพจริง การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลตามสภาพจริง และการใช้แฟ้มสะสมงานในการประเมินผลและพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง <br /><br /> 2.ครูที่สอนระดับชั้นที่แตกต่างกันมีบทบาทในการประเมินผลตามสถาพจริงในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน <br /><br /> 3.ครูที่สอนกลุ่มประสบการณ์ที่แตกต่างกันบทบาทในการประเมินผลตามสภาพจริงในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีไม่แตกต่างกัน <br /><br /> 4.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของครูในการประเมินผลตามสภาพจริงในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี มีดังนี้ ด้านการจัดทำแผนการสอนเพื่อประเมินผลตามสภาพจริง ครูควรจัดทำแผนการสอนบูรณาการที่หลากหลาย สอดคล้องกับท้องถิ่นและชีวิตประจำวัน และจัดทำบันทึกหลังการสอน เพื่อนำไปปรับปรุงการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริง ครูควรจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะของผู้เรียน และควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ด้านการสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลตามสภาพจริง ครูควรสร้างเกณฑ์ในการประเมินผล โดยยึดศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและต้องเหมาะสมกับวิธีการประเมินผลในแผนการสอน ด้านการใช้แฟ้มสะสมงานในการประเมินผลและพัฒนาการเรียนการสอน ครูควรกำหนดช่วงเวลาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องประเมินผลผู้เรียนและการประเมินผลต้องดูพัฒนาการของผู้เรียนทุกชิ้นงาน

This research was intended (1) to study and compare the role of teachers who tough different grade levels and experience areas in authentic assessment concerning lesson planning for authentic assessment, authentic instructional activities, authentic assessment criteria setting and using a portfolio for assessment and instructional development. (2) to gather suggestions about the teachers' role in authenic assessment in primary school in changwat pattani.<br /> The subjects were 342 Prathomsuksa 1-6 teachers from the primary schools under the Office of Pattani Primary Edwucation during the 2000 academic year. The instrument for data collection was a rating-scale<br /> questionnaire constructed by the researcher of which the reliability was .9778.<br /> The analysis was performed based on frequencies, percentages, arithmetic<br /> means, standard deviation, the t-test and the F-test.<br /> The findings were as follows:<br /> 1. The teachers? role in authentic assessment concerning lesson planning<br /> for authentic assessment, authentic instructional activities, authentic assessment<br /> criteria setting and using a portfolio for assessment and instructional development was moderate, both overall and in each aspect.<br /> 2. There was no significant difference in the role in authentic assessment concerning all four aspects of the teachers who taught different grade levels in<br /> primary schools in Pattani.<br /> 3. There was no significant difference in the role in authentic assessment Concerning all four aspects of the teachers who taught different experience<br /> areas in primary schools in Pattani.<br /> 4. The suggestions about the teacher?s role in authentic assessment in the primary schools in Changwat Pattani were that: In planning lessons for authentic assessment, the teachers should write various integrated plans agreeable to local and daily ways of life. They should also create a post-teaching record for instructional improvement. For authentic instructional activities, the teachers should be aware of the students? potential and provide moral and ethical activities suitable for their age and maturity.<br /> For authentic assessment criteria setting, the teachers should<br /> consider the students? learning potential. The criteria must be appropriate to the<br /> method of assessment stating in the lesson plan.<br /> For using a portfolio in assessment and instructional development, the teachers should specify the time for related assessors to perform the assessment. The students? development should be assessed from every piece of their work.
     ผู้ทำ/Author
Nameเตือนใจ อินทโกศรี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ณรัณ ศรีวิหะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2544
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3617
     Counter Mobile: 40