|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | คุณลักษณะของครูเพื่อการพัฒนาชนบทตามความคิดของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล จังหวัดปัตตานี / Teacher Characteristics for Rural Development as Perceives by Tambon Advisory Committee in Changwat Pattani | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.คุณลักษณะของครูเพื่อการพัฒนาชนบทตามความคิดเห็นของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล จังหวัดปัตตานี ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ด้านความมีจิตมุ่งมั่นในการพัฒนา ด้านสุขภาพกายและจิต และด้านการอบรมแนะแนวและการปกครอง 2.เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลจังหวัดปัตตานีที่มีต่อคุณลักษณะของครูเพื่อการพัฒนาชนบท จำแนกตามศาสนา อายุ ตำแหน่งหน้าที่ใน คปต. ประสบการณ์ในการทำหน้าที่ คปต. และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล จำนวน 595 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และค่าทดสอบของตูกี ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.ความคิดเห็นของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูอยู่ในเกณฑ์มากทั้ง 6 ด้าน 2.ความคิดเห็นของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล จำแนกตามศาสนา อายุ ตำแหน่งหน้าที่ใน คปต. ประสบการณ์ในการทำหน้าที่ คปต. และระดับการศึกษา พบว่า 2.1 คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ก้านความมีจิตมุ่งมั่นในการพัฒนา และด้านสุขภาพกายและจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และด้านการอบรม แนะแนวและการปกครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2.2 คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้านความมีจิตมุ่งมั่นในการพัฒนา และการอบรมแนะแนว และการปกครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ด้านคุณธรรมและความประพฤติ และด้านสุขภาพกายและจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ด้านวิชาการไม่แตกต่างกัน 2.3 คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลที่มีตำแหน่งหน้าที่ใน คปต. แตกต่างกัน มีความคิดเห็นทั้ง 6 ด้านแตกต่างกัอนย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 2.4 คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลที่มีประสบการณ์ในทำหน้าที่ใน คปต. แตกต่างกัน มีความคิดเห็นทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 2.5 คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความมีจิตมุ่งมั่นในการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และด้านสุขภาพกายและจิตและด้านการอบรม แนะแนวและการปกครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านวิชาการและด้านคุณธรรมและความประพฤติไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were twofold: [1] to investigate the teacher characteristics for rural development as perceived by Tambon Advisory Committee [TAC] in Changwat Pattani in 6 aspects of attributive tasks : academic affairs, human relations, moral principles and codes of conduct, firm determination of work, physical and mental health, and training, guidance and superintendence, and [2] to compare the perception levels toward all 6 aspects of teacher characteristics for rural development as viewed by the TACs that were varied in religion, age, job position in the TAC, work experience with the TAC, and educational attainment. The samples in this study were 595 Tombon Advisory Committee members in Changwat Pattani. Constructed by the investigator, the instrument for data collection was a checklist and rating-scale questionnaire. Data analysis was computed by the SPSS [Statistical Package for the Social Science] computer program using percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test and Tukey?s HSD test. The findings were as follows 1. The average perception levels of the TACs toward teacher characteristics for rural development in all 6 aspects of attributive tasks were at a high level in descending order as follows: moral principles and codes of conduct, firm determination of work, human relations, training, guidance and superintendence physical and mental health, and academic affairs respectively. 2. The comparison analysis results of the perceptions toward teacher characteristics in all 6 aspects of attributive tasks as viewed by the Tambon Advisory Committee being varied in religion, age, job position in the TAC, work experience with the TAC, educational attainment revealed that: 2.1 The TACs being varied in religion and job position in the TAC viewed teacher characteristics for rural development in academic affairs, human relations, moral principles and codes of conduct, firm determination of work, and physical and mental health differently at .01 level ; likewise, so did in training, guidance and superintendence at .05 level. 2.2 The TACs being varied in age viewed teacher characteristics for rural development in firm determination differently at .01 level; likewise, so did in human relation, moral principles and codes of conduct, and physical and mental health at .05 level, but not in academic affairs. 2.3 The TACs being varied in job position in the TACs viewed teacher characteristics for rural development in all 6 aspects of the attributive tasks differently at .01 level. 2.4 The TACs being varied in work experience in the TAC did not view teacher characteristics for rural development in all 6 aspects of attributive tasks. 2.5 The TACs being varied in educational attainment viewed teacher characteristics for rural development in human relation and firm determination of work differently at .01 level; likewise, so did in physical and mental health as well as training, guidance and superintendence at .05 level, but not in academic affairs nor moral principles and codes of conduct. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2536 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 1959 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 35 | |||||||||||||||||||||