ชื่อเรื่อง/Title เจตคติต่อโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิม / Attitudes toward the New Hope Development Project of Government Officials and Muslim Leaders
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิม ที่มีปัจจัยทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยอายุการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา ความรู้ความเข้าใจโครงการ การได้รับรู้ข่าวสาร การได้รับการฝึกอบรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ระดับรายได้ต่างกัน การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นตอน เครื่องมือใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว<br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> 1. เจตคติต่อโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิมอยู่ในระดับสูง<br /> 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิม ที่มีอายุการปฏิบัติงาน ระดับรายได้ และการรับรู้ข่าวสารแตกต่างกัน มีเจตคติต่อโครงการพัมนาเพื่อความหวังใหม่ไม่ต่างกัน<br /> 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิม ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปมีเจตคติดีกว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาลงมา แต่กลุ่มมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปกับกลุ่มที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาลงมา กลุ่มที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปมีเจตคติต่อโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ไม่ต่างกัน<br /> 4. เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิม ที่มีความรู้ ความเข้าใจโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ระดับสูงและปานกลาง มีเจตคติต่อโครงการดีกว่ากลุ่มที่มีความรู้ ความเข้าใจโครงการในระดับต่ำ แต่กลุ่มที่มีความรู้ ความเข้าใจโครงการในระดับสูงกับกลุ่มที่มีความรู้ ความเข้าใจโครงการในระดับปานกลางมีเจตคติต่อโครงการไม่ต่างกัน<br /> 5. เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำมุสลิมที่เคยรับการฝึกอบรม หรือประชุมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่มีเจตคติที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่เคยรับการฝึกอบรม หรือประชุม

This research was intended to investigate the attitudes of government officials and Muslim leaders toward the New Hope <br /> <br /> Development Project in terms of work experience, educational attainment, knowledge in the project, exposure to information, <br /> <br /> trainning experience, and income. A total of 361 subjects comprising 126 government officials under the new Hope <br /> <br /> Development Project in the 1992 fiscal year and 235 Muslim leaders from village mosque committee under the directorship of <br /> <br /> the Fourth Army Region. The instrument for data collection was a truefalse and 5-point, rating-scale questionnaire. The <br /> <br /> questionnaire was made up of two identical varsions : Thai language version and Jawi script vertion. The relibility of <br /> <br /> questionnaire administered, 342 copies or 94.73 persent of the questionnaire were retured for data analysis. The data were <br /> <br /> analyzed through the SPSS. computer program using persentage, arithmethic mean, standard deviation, and one-way <br /> <br /> ANOWA.<br /> The findings were as follows:<br /> 1. The attitudes of government officials and Muslim leaders toward the New Hope Development Project were perceived at a <br /> <br /> high level.<br /> 2. There was no significant difference in attitudes toward the New HOPE development Project between government officials and Muslim leaders with difference in work experience, levels of income, and exposure to information.<br /> 3. The goverment officials and Muslim leaders with a bachelor's degree or higher degree had more positive attitudes than with primary education at .01 level of significance. However, there was no significant difference in attitudes toward the New Hope Development Project between those with secondary education or higher, those with primary education or lower, and those with a bachelor's degree or higher.<br /> 4. The government officials and Muslim leaders with high and modereate levels of knowledge of the project had more positive attitudes toward the project than those with lower level of knowledge at .01 level of significance. However, there was no significant difference in attitudes between those with high and moderate levels of knowledge of the project. <br /> 5. The government officials and Muslim leaders with trainaing experience of the project orientation had more positive attitudes toward the project than those with no training experience (p=.032).<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameสุวัฒน์ เรืองสกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล...
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ผู้นำชุมชน
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2536
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1995
     Counter Mobile: 43