|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยะลา ในขอบข่ายวิชาการ 8 งาน ประกอบด้วย งานหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ งานการเรียนการสอน งานการจัดวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน งานการวัดและประเมินผล งานการดำเนินงานเกี่ยวกับห้องสมุด งานการส่งเสริมการสอน งานการวางแผนและกำหนดวิธีดำเนินการ และงานการประชุมอบรมทางวิชาการ <br />
<dd>โดยเก็บข้อมูลจากครูผู้สอน จำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ การทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณ <br />
<dd>ผลการวิจัยมีดังนี้ <br />
1.การปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง <br />
2.การปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ไม่แตกต่างกัน <br />
3.การปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน ไม่แตกต่างกัน <br />
4.การปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน <br />
5. การปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนที่ขนาดต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <br />
<dd>สำหรับปัญหาในการปรับปรุงการปฏิบัติงานการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่สำคัญ คือ โรงเรียนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนการสอนแต่ละกลุ่มประสบการณ์ และไม่สามารถสร้างหรือปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ตลอดจนโณงเรียนขาดงบประมาณสำหรับจัดหาหรือจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และครูขาดความรู้ ความชำนาญในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา ได้แก่ ควรจัดประชุมสัมมนาครูผู้สอนเฉพาะกลุ่มประสบการณ์ปีละครั้ง และควรพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับค่านิยม ประเพณีกับความต้องการของท้องถิ่น และโรงเรียนควรกำหนดแผนจัดหาหรือแผนเสนอของบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนไว้ให้ชัดเจน ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้ครูได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
This research is intended to investigate the school administrators' level of supervision of academic affairs. The investigation is based on the perception of the teachers in the school under the Office of Yala Provincial Primary Education. Eight areas of academic affairs included in this study are curriculum and its implementation, learning and instruction, preparation of educational equipment and teaching aids, measurement and evaluation, libry affairs management, instruction promotion, project planning and implementation, and academic trianing conference. The population of the study consits of 301 teachers. In collecting the data, a two-part questionnaire designed by the researcher is used. Part I of the questionnaire deals with the respondents' background information while Part II concerns the school administrators' supervision of academic affairs. Percentage, arithmetic mean, standard devision, t-test, F-test as well as multiple comparison are used data analysis. <br />
The research findings are as follows :<br />
1. As perceived by the teachers in the schools under the Office of Yala Provincial Primary Education, the school administrators' supervision of academic affairs is found to be a moderate level.<br />
2. The teachers of different sexes do not differ in their perception of the school administrators' supervision of academic affairs.<br />
3. the teachers with different educational attainments do not differ in their perception of the school administrators' supervision of acdemic affairs.<br />
4. The teachers with different work eperience do not differ in their perception of the school administrators' supervision of academic affairs.<br />
5. The teachers working in schools of different sizes differ in their perception of the school administrators' supervision of academic affairs. The significance is at the level of 0.05. The school administrators' supervision of academic affairs is perceived as better by the teachers in small-sized schools than by those in medium-sized schools. <br />
The crucial problems pertaining to the school administrators' supervision of academic affairs include the school's lack of personnel capable of giving consults on management of the teaching and learning of each group of subjects, incapability to design or adjust the curriculum to suit the community needs, and lack of budget to get the educational equipment supplied. Besides, the teachers also lack knowledge or experties in new kinds of techonology and innovations and thus cannot appropriately apply thm to their teaching. The respondents have suggested that the Office of Primary Education in the Changwat/Amphoe/King-Amphoe should organize, once a year, a seminar and /or a conference for teachers of certain groups of subjects, and that the curriculum schold be revised so that it would comply with the local values and tradition and suit the community needs. Moreover, it has been suggested that the school should set a definite plan requesting the butget appropriated to the provision of the educational equipment, and that teachers should be stronglyencouraged to apply new kinds of technology and innovations to their teaching. |