ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทในจังหวัดปัตตานี / Factors Affecting Performance Efficiency of the Primary School Administrators in the Educational Project for Rural Development in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทในจังหวัดปัตตานี และศึกษาอิทธิพลของตัวแปร ได้แก่ อายุ รายได้ ประสบการณ์การทำงาน การเข้ารับการฝึกอบรม เจตคติที่มีต่อโครงการ ความรู้ในโครงการ จำนวนครูในโรงเรียน และงบประมาณสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทในจังหวัดปัตตานี จำนวน 168 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1.ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
2.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน คือ ประสบการณ์การทำงาน และจำนวนครูในโรงเรียน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์
3.ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ประสบการณ์การทำงานและจำนวนครูในโรงเรียน
4.จากการวิจัย มีข้อเสนอแนะดังนี้ ในการดำเนินงานตามโครงการการศึกษา ควรจะได้พิจารณาหรือคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในโครงการ 3-5 ปี และมีผลงานเป็นที่ปรากฎ สามารถเป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่นๆได้ และควรพิจารณาหรือคัดเลือกโรงเรียนที่มีจำนวนครูในโรงเรียนไม่น้อยกว่า 7 คนเข้าร่วมโครงการการศึกษา

The purposes of the study were to investigate the level of performance efficiency of the primary school administrators under the educational project for rural development (EPRD) in Changwat Pattani and to study the effects of the following variables (ie, age, income, work experience, in-service training, attitude toward the EPRD program, knowledge of the EPRD program, teacher population in school, and supporting budget) on performance efficiency of the primary school administrators under the education project for rural development of a multiple regression equation of the good predictors for the performance efficiency of the primary school administrators.
Through a proportional stratified sampling method, 168 sample were drawn from school administrators under the office of Pattani Provincial primary education and under the educational project for rural development in the fiscal years of 1983-1993. The instruments for data collection comprised a test on knowledge of the EPRD program, questionnaires measuring performance efficiency and attitudes toward the EPRD program. Data were analyzed using percentage, arithmetic mean, standard deviation, simple correlation coefficient and multiple regression analysis.
The results of the study indicated that :
1. The performance sufficiency of the EPRD school administrators in the fiscal years of 1983-1993 was at a moderate level.
2. Work experience and teacher population in school were the factors that significantly related to the performance efficiency of the EPRD school administrators at .001 level. The factors that did not related to the performance efficiency of the EPRD school administrators included age, income, in-service training, attitudes toward the EPRD program and supporting budget.
3. The good predictors of the performance efficiency of the EPRD school administrators were work experience and teacher population in school. The estimate equation of primary school administrators could be quantitatively depicted, this :
Y= 3.654138 + .020843 (X3) + .020138 (X7)
4. The implications of the research include the following points : Resource persons to carry out in-service training programs or seminars should exclusively be chosen from school administrators with 3-5 years? experience in the EPRD work and with outstanding performance of administrators work as role model, Since, with direct experience and expertises in the EPRD work, such school administrators could help direct the operations of the EPRD work more efficiently. In addition, the school eligible for the EPRD program should have at least seven teachers at the mininum.




     ผู้ทำ/Author
Nameประยุทธ์ โขขัด
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ค้วน ขาวหนู
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2537
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2860
     Counter Mobile: 41