|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ปัจจัยทางการศึกษาและปัจจัยอื่นบางประการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลชนชั้นนำโครงสร้างอำนาจชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษากรณีชุมชนในจังหวัดปัตตานี |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการทราบว่า ใครหรือกลุ่มบุคคลใดที่เป็นบุคคลชนชั้นนำและกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีลักษณะอะไรพิเศษ ที่ทำให้ได้รับการยอมรับเป็นบุคคลชนชั้นนำ โดยแยกพิจารณาคุณสมบัติการศึกษา และคุณสมบัติทั่วไป และศึกษาต่อไปว่าบุคคลชนชั้นนำดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อกันอย่างไร และต้องการสรุปเป็นภาพรวมว่า ลักษณะโครงสร้างอำนาจของชุมชนเป็นอย่างไร โดยศึกษาจากชุมชนชาวไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้
การวิจัยดังกล่าวนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้รูปแบบวิจัยแบบตัดขวาง โดยศึกษา 4 ชุมชนในจังหวัดปัตตานี ได้แก่ ชุมชนประจัน ชุมชนหงสตา ชุมชนคางา และชุมชนต้นทุเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
คุณสมบัติของบุคคลชนชั้นผู้นำ พบว่า นอกจากคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งทางการ และดำรงตำแหน่งผู้นำศาสนาแล้ว บุคคลชนชั้นผู้นำมีคุณสมบัติทางด้านการศึกษาสายสามัญ การศึกษาสายศาสนา ความสามารถในการอ่านหนังสือ เป็นคุณสมบัติที่อธิบาย ความเป็นชนชั้นผู้นำได้ดี
คุณสมบัติความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า ชนชั้นนำจะมีระดับความสัมพันธ์ การคบค้า
สมาคมต่อกันในระดับสนิทคุ้นเคยกันดี ทางด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจ พบว่า ในกลุ่มชนชั้นนำ มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดภายในกลุ่ม
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | อภันตรี อารีกุล | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ผู้นำชุมชน
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2532 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2562 |
|
Counter Mobile: |
36 |
|