ชื่อเรื่อง/Title การประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการศึกษา เพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท จังหวัดปัตตานี / A Process Evaluation of the Educational Project for Rural Development in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) ระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทของโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ระหว่างความคิดเห็นของผู้บริการโรงเรียนกับครูผู้รับผิดชอบโครงการ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ระหว่างโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัด<br /> พัฒนาอันดับ 1 อันดับ 2 และอันดับ 3 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับกระบวนการดำเนินงานโครงกการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 อันดับ 2 และอันดับ 3 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบประเมินผล โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ของเดเนียล แอล. สดัฟเฟิลบึม แต่เลือกประเมินเฉพาะกระบวนการเท่านั้น เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด คือโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ในปีงบประมาณ 2533 จำนวน 40 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 122 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 76 ข้อ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> <dd>ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท จังหวัดปัตตานีอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสูงกว่าครูผู้รับผิดชอบโครงการ 3. โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 มีระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบทอันดับ 2 และอันดับ 1 และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 มีระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบทอันดับ 1 4. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบทอันดับ 3 มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบทอันดับ 2 และอันดับ 1 และผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่ง<br /> รัดพัฒนาชนบทอันดับ 2 ระดับกระบวนการดำเนินงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาชนบทอันดับ 1 5. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญๆ ที่พบจากการวิจัย คือ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ ครูไม่มีเวลาเพียงพอในการดำเนินงานตามโครงการอย่างเต็มที่และขาดความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพในการบริการประชาชน ประชาชนยังไม่เข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการและไม่ให้ความสนใจในกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดให้ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวได้รับการเสนอแนะจากผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการว่า เห็นควรให้มีการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่องจนกว่าโรงเรียนสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ ควรมีการจัดฝึกอบรมครูเกี่ยวกับงานอาชีพในการบริการประชาชน และเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการให้มากขึ้น ควรชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง<br /> ในการดำเนินงานของโรงเรียนควรดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างแก่ชุมชน ให้ผลงานเป็นที่ยอมรับของชุมชน ให้นักเรียนเป็นสื่อกลางในการขยายผลของโครงการสู่ชุมชน และควรมีการประสานงานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

This research was intended to : (1) investigate the process evaluation of the Educational Project for Rural Development (EPRD) in Changwat Pattani ; (2) compare the extants of the EPRD process evaluation as viewed by the school administrators and the teachers in charge of the EPRD; (3) compare the process evaluation of the EPRD among schools under three grands of accelerated development villages: Orades 1, 2 and 3 : (4) compare the extents of the EPRD process evaluation as viewed the school administrators and teachers under which their schools were located in the accelerated development villages of Grades 1, 2 and 3; and (5) gather together information on issues, problems of the EPRD and recommendations for the improvement of the EPRD. Following Daniel L. Stufflebeam's CIPP Model, this research as an evaluation research only focused on the process evaluation stages by using the absolute criteria. The instrument for the data collection was a 5-point, rating scale questionnaire covering comprising meeting of the concerned parties, survey and data analysis, project planning, project implementation, control and follow-up, evaluation and reports, and also the open-ended questions regarding problems and recommendations for the improvement of the project's whole process were included. The data were collected by the researcher from 122 subjects who were, at the time of administering the questionnaire, the school administrators and the teachers in charge of the EPRD in Changwat Pattani. The data were then analyzed for the statistic of percentage, population mean (u), and standard deviation.<br /> The research research results were as follows:<br /> 1. The overall process of the EPRD in Changwat Pattani was at a moderate level; so was phase of the EPRD process.<br /> 2. The school administrators viewed the EPRD process in their schools higher than the teachers in charge of the in their respective schools.<br /> 3. The shools located in the accelerated development villages of Grade 3 were viewed higher than those in that of Grades 2 and 1, and subsequently the schools located in the accelerated development villages of Grande 2 were also viewed higher than in that of Grande1.<br /> 4. Both school administrators and teachers whose schools loented in the accelerated development villages of Grade 3 viewed the EPRD process in their schools higher than those schools located in that of Grades 2 and 1, and subesquently the school administrators and teachers whose schools located in the accelerated development villages of Grade 2 also did view the Eprd process in their schools higher than those in that of Grade 1.<br /> 5. A number of issues and problems on the EPRD were identified as follows : the budget for the project operation was insufficient; most teachers in charge of the project did not spend the time sufficiently enough in the project operationd and also lacked the knowledge concerning vocational services to the people; people did not fully understand the principles and objectives of the existing projects and were not interested in what provided for by the schools; there was a lack of real supports from government agencies concerned. In order to have the problems solved and to improve the EPRD operations, such recommendations were made by the respondents: supporting budgets should be sufficiently allocated until the schools could independently accommodate the projects; there should be workshops and seminars on vacational services for the teachers in charge of the projects providing for to the people; the people should be truly informed of the principles and objectives of the EPRD; the successful EPRD operations should be modelled on and accepted by the community; pupils and students should be encouraged to play an important role in expanding the EPRD operations to the community, and the close coorditions and cooperations among agencies concerned should be strongly encouraged.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุรัตน์ บุญฤทธิ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 (หน้า28-54)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 3 (หน้า110-155)
บทที่ 4 บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2534
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3177
     Counter Mobile: 57