ชื่อเรื่อง/Title ประสิทธิภาพการสอนของครูอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Teaching Efficiency of the Islamic Teachers at Elementary Education Level in the Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ <br /> 1.ศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครูอิสลามศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ <br /> 2.ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนของครูในแต่ละด้านของประสิทธิภาพการสอน ตามตัวแปร อายุ ระดับการศึกษาสายสามัญ ระดับการศึกษาสายวิชาชีพครู ระดับการศึกษาสายศาสนา และประสบการณ์การสอน <br /> 3.ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา <br /> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนวิชาอิสลามศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ <br /> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ <br /> 1.ระดับประสิทธิภาพการสอนของครูอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษา ด้านลักษณะความเป็นครูอยู่ในระดับดี ด้านเทคนิคการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและชุมชนอยู่ในระดับดี ด้านการใช้อุปกรณ์การสอนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการวัดและการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง และด้านผลการสอนอยู่ในระดับดี <br /> 2.ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าครูอิสลามที่มีอายุต่างกัน มีประสิทธิภาพการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเทคนิคการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการสอน นอกนั้นไม่พบความแตกต่างกัน ส่วนครูอิสลามศึกษาที่มีระดับการศึกษาสายสามัญ วิชาชีพครูและวิชาศาสนาต่างกันและมีประสบการณ์การสอนต่างกัน ไม่พบความแตกต่างกัน <br /> 3.ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษาที่พบจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูอิสลามบางส่วนยังไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนได้ มีเวลาอยู่กับนักเรียนและโรงเรียนน้อย ขาดความมีมนุษยสัมพันธ์ ขาดเทคนิควิธีและความพร้อมในการสอน การใช้ภาษาไทยไม่ดีเท่าที่ควร ขาดอุปกรณ์การสอน ไม่มีความรู้ความสามารถในการวัดและประเมินผลนักเรียน และขาดกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ <br /> ปัญหาดังกล่าวได้รับการเสอนแนะว่า เห็นควรให้มีการจัดอบรมประชุม สัมมนา ปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูในทุกๆด้าน ให้มีการนิเทศและติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์และงบประมาณตลอดจนเสริมสร้างให้ครูผู้สอนมีความมั่นคงในหน้าที่การงานโดยการบรรจุเป็นข้าราชการ

The purposes of this research were threefold: (1) to investigate the teaching efficiency level of the Islamic teachers at elementary education level in the southern border provinces; (2) to compare teaching efficiency of Islamic teachers in terms of the following variables: age, attainment, of general education, attainment of teacher education, attainment of religious education and teaching experience: and (3) to study the problems of the Islamic instruction in elementary schools. The samples in this descriptive research were 178 elementary school teachers of Islamic Studies in five southern border provinces including 45 from Pattani, 32 from Yala, 62 from Narathiwat, 27 from Satun and 12 from Songkhla. A 5-point, 63-item rating scale questionnaire was used in collecting data covering 6 areas of teaching efficiency including teacher characteristics, teaching techniques, relations of teacher-pupil and community, use of teaching aids, ,measurement and evaluation, and teaching outcomes; also attached were open-ended questions on problems of the Islamic instruction as well as suggestions for the solutions. Administered and collected by the investigator, the questionnaires were completed by school administrators as evaluators of the teaching efficiency conducted by the Islamic teachers in their respective schools. Data analysis was computed by the SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) computer program using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and F-test.<br /> The findings were as follows:<br /> 1. The teaching efficiency levels regarding the Islamic teachers? teacher characteristics, relations of teaching ?pupil and community, and teaching outcomes was found to be at a good level, whereas teaching techniques, use of teaching aids, and measurement and evaluation were at a moderate level.<br /> 2.The hypothesis testing revealed that the Islamic teachers with age difference showed a significant difference in only three areas of teaching efficiency, namely teaching techniques (P = 0.0202) , measurement and evaluation (P = 0.0071) and teaching outcomes (P = 0.0269). However, there was no significant, difference in teaching efficiency of the Islamic teachers with difference in educational of the Islamic teachers with difference in educational attainments and teaching experience.<br /> 3.Identified as problems of Islamic instruction at elementary schools, they included the following : parts of the Islamic teachers could not be a good model for their pupils; they spent too little time with their pupils at school; they lacked human relations, teaching techniques and teaching readiness. Their competence of using Thai was unsatisfactory; they were unable to handle measurement and evaluation as a part of teaching process. There were a lack of teaching aids and moral on the part of the teachers. In order to cope with such problems, it was suggested by the school administrators that there be an urgent need for seminars, workshops and training to be set for enhancing the teaching efficiency level in all areas. In addition, regular supervision and follow-ups, real supports and assistance in teaching aids and more budget as well as job security were very crucial.
     ผู้ทำ/Author
Nameสิทธิศักดิ์ เจ๊ะสารี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีดำเนินการ
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2536
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2960
     Counter Mobile: 41