ชื่อเรื่อง/Title รายงานการวิจัย ลักษณะเฉพาะของน้ำในอ่าวปัตตานี / Water characteristics in Pattani Bay
     บทคัดย่อ/Abstract ได้ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เพื่อประเมินคุณภาพของน้ำและสภาวะแวดล้อมรอบอ่าวปัตตานีโดยเก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับกึ่งกลางความลึกในอ่าวปัตตานี(8สถานี)แม่น้ำปัตตานี(3สถานี)และแม่น้ำยะหริ่ง(2สถานี)ทุก3-6เดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม2534ถึงเดือนกรกฎาคม2537แล้ววิเคราะห์โดยวิธีมาตราฐานของ APHA,AWWAและWEF(1992)พบว่า ความลึกเฉลี่ยของน้ำในอ่าวปัตตานี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำยะหริ่ง คือ1.36-0.17,2.70-0.31และ4.55-0.70เมตรตามลำดับ อุณหภูมเฉลี่ยของน้ำในสามแหล่งมีค่าต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ คือ ประมาณ 29ซ ความโปร่งใสเฉลี่ยของน้ำในสามแหล่งมีค่าเท่ากับ63.9-12.1.ซม.(อ่าวปัตตานี)58.6-8.4ซม.(แม่น้ำปัตตานี)และ100.6-54.5 ซม.(แม่น้ำยะหริ่ง) ในขณะที่ของแข็งแขวนลอยรวมในน้ำสามแหล่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ219.8-103.2,58.0-55.8และ90.4-113.7ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ ค่าความเค็มเฉลี่ยของน้ำในอ่าวปัตตานีเท่ากับ25+3ส่วนในพันส่วน ขณะที่ค่าความเค็มของน้ำในแม่น้ำวัดได้เมื่อน้ำทะเลเข้าถึง และน้ำทะเลรุกล้ำแม่น้ำยะหริ่งได้ไกลกว่ารุกล้ำแม่น้ำปัตตานี น้ำในอ่าวปัตตานีมีค่าความเป็นกรด-เบสเฉลี่ย (8.00-0.17)สูงกว่าในแม่น้ำปัตตานี(7.56-0.21)และแม่น้ำยะหริ่ง(7.12-0.36)ปริมาณเฉลี่ยของฟอสเฟต- ฟอสฟอรัสในอ่าวปัตตานี(10.6-2.8ส่วนในพันล้านส่วน)มีค่าต่ำกว่าที่พบในแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำยะหริ่ง(33.0-6.9และ25.9-11.0ส่วนในพันล้านส่วน)เช่นเดียวกับปริมาณเฉลี่ยของไนไตรท์-ไนโตรเจน และไนเตรท-ไตรเจนในอ่าวปัตตานี(4.0-2.4,49.8-14.2ส่วนในพันล้านส่วน)ซึ่งพบว่ามีค่าต่ำกว่าในแม่น้ำปัตตานี(6.1-2.1,173.0-60.5ส่วนในพันล้านส่วน)และในแม่น้ำยะหริ่ง(14.3-11.9,119.3-52.0ส่วนในพันล้านส่วน)ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ในอ่าวปัตตานีมีค่าเท่ากับ61.3-57.6 ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งต่ำกว่าที่พบในแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำยะหริ่ง (181.7-112.1 และ195.2-6.9 ส่วนในพันล้านส่วนตามลำดับ)สำหรับออกซิเจนละลายเฉลี่ยในอ่าวปัตตานีและแม่น้ำปัตตานีมีค่าเท่ากันคือ 6.25-0.63ส่วนในล้านส่วน ซึ่งสูงกว่าที่พบในแม่น้ำยะหริ่ง(4.07-1.06ส่วนในล้านส่วน)ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีเฉลี่ยในสามแหล่งน้ำที่มีค่าเท่ากับ1.98-0.42,2.65-0.84และ2.63-1.34ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่าอ่าวปัตตานียังคงสภาพสมบูรณ์ มีการปนเปื้อนของมลพิษในระดับต่ำกว่าแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำยะหริ่งในช่วงเวลา3ปีที่ทำการศึกษา

Water characteristics in Pattani Bay were investigated to evaluate the quality of water and environment status in Pattani Bay. Samples of water from the middle depth in Pattani Bay (8 stations), Pattani river (3stations) and Yaring River (2 stations) were collected every 3-6 months from October 1991 to July 1994, and analysed for chemical, biological and physical parameters following the Standard Method of APHA, AWWA and WEF (1992). It was found that the average values of depth at the stations where water samples were callected from Pattani Bay, Pattani River and Yaring were 1.36+-0.17, 2.70+-0.31 and 4.55+-0.70 m, respectively. The value of average transpsrency values for Pattani Bay, Pattani River and Yaring River were 63.9+-12.1, 58.6+-8.4 and 100.6+-54.5 cm, respectively, while the values of total suspended solids were 219.8+-103.2, 58.0+-55.8 and 90.4+-113.7 ppm respectively. The average salinity value of water in Pattani Bay was 25+-3 ppt, while those in two rivers could be measured at high tide. The marine water come further in Yaring River than in Pattani river. The average pH value of water in Pattani Bay (8.00+-0.17) was found to be higher than those in Pattani River (7.56+-0.21) and Yaring River (7.12+-0.36). The average phophate-phophorus content of water in Pattani Bay (10.6+-2.8 ppb) was found to be lower than those in Pattani River and Yaring River (33.0+-6.9 and 25.9+-11.0 ppb respectively). Similarity, the average nitrite-nitrogen and nitrate-nitrogen qualities found in Pattani Bay (4.0+-2.4 and 49.8+-14.2 ppb) were than those in Pattani River (6.1+-2.1 and 173+-60.5 ppb) and in Yaring River (14.3+-11.9 and 119.3+-52.0 ppb). The average ammonium-nitrogen content in Pattani Bay was 61.3+-57.6 ppb wich was lower than those in Pattani River and Yaring River (181.7+-112.1 and 195.2+-6.9 ppb, respectively). The average dissolved oxygen content in Pattani Bay was found to be equivalent to that in Pattani River (6.25+-0.63 ppm) but was higher than that in Yaring River (4.07+-1.06 ppm). Finally, the biochemical oxygen demond, BOD, values in Pattani Bay, Pattani River and Yaring River were 1.98+-0.42, 2.65+-0.84 and 2.63+-1.34 ppm respectively, From these analyses, it was concluded that Pattani Bay was less polluted than were Pattani River and Yaring River over 3-year period of investigation.
     ผู้ทำ/Author
Nameปรียา วิริยานนท์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameนุกูล รัตนดากูล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameยุพดี ชัยสุขสันต์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameชลธี ชีวะเศรษฐธรรม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameวิทูล ไชยภักดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameมะ อีแต
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameสราวุธ เดชมณี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameจรีรัตน์ สำราญ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameจารุวรรณ คำแก้ว
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameชาญวิทย์ เบญจมะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
บทความ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: บทความ/Article
     Copyrights :
     Counter : 2711
     Counter Mobile: 54